ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัด สัมมนาประเด็นการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์ (Communication Forum 2017) เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมโนโวเทล เพลินจิต กรุงเทพมหานคร โดยมีคณาจารย์ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร. รุ้ง ศรีอัษฎาพร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าว มีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) การนำเสนอประเด็นการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์ในระดับมหาบัณฑิตของนิสิตปริญญาโท และระดับดุษฎีบัณฑิตของนิสิตปริญญาเอก ทั้งผลงานการศึกษาในรายวิชา ข้อเสนอแนะทางทฤษฎีและการวิจัย รวมถึงโครงร่างการวิจัยเพื่อนำไปสู่การศึกษาเต็มรูปแบบในอนาคต และ 2) กิจกรรมสานสัมพันธ์และสันทนาการ Miss and Mister Comm Forum 2017 เพื่อเป็นการผ่อนคลายและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนิสิตปริญญาโท

คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนิสิตปริญญาเอก

การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ร่วมวิพากษ์ผลงานและการนำเสนอประเด็นการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ทั้งของนิสิตปริญญาโท หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต และนิสิตปริญญาเอก หลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 15 เรื่อง ดังนี้

ประเด็นการศึกษา ผู้นำเสนอ
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการสื่อสารและกลวิธีการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจในกระบวนการถ่ายทอดความรู้ศาสตร์พระราชาสำหรับเกษตรกรต้นแบบ ณัฎฐา ระกำพล
การสื่อสารในความสัมพันธ์เชิงอำนาจของทหารในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง
 อิทธิพลของรูปแบบและการควบคุมความสัมพันธ์ของคู่สมรสที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ ภัทรภร เสนไกรกุล
การสื่อสารในการสัมภาษณ์ผู้สมัครที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าทำงานในองค์กร ศุภกฤตษ์ จิตตภัทราวงศ์
อัตลักษณ์และการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับของผู้บริหารหญิงในองค์กรไทย วิไลลักษณ์ คำแจ่ม
กรอบแนวคิดความสามารถในการสื่อสารเชิงอารมณ์ของบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย ชัยวัฒน์ โรจน์สุรกิตติ
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสารตามโครงการจังหวัดอัจฉริยะ พิเชษฐ์ แตงอ่อน
การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ
ความสามารถในการปรับตัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกับอุปสรรคด้านการสื่อสารของคนไทย ดุริยางค์ คมขำ
กลยุทธ์การสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวจีนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ธันยชนก มูลนิลตา
การขจัดความกังวลในการฝึกพูดต่อหน้าสาธารณชน อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์
กระบวนการการสร้างสรรค์ TEDxBangkok กนกอร เรืองศรี
การใช้ภาษาในการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของนักพูดสร้างแรงบันดาลใจระดับโลก ประไพรัตน์ จรดล
อิทธิพลของรูปแบบความผูกพันธ์ทางจิตใจต่อผู้ชมละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์
ปฏิภาณทางภาษาเชิง “สองแง่สองง่าม” ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ภรัณยู ขำน้ำคู้

กิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการพัฒนาเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพทางวาทนิเทศ เพื่อเป็นเวทีวิชาการให้นิสิตได้ฝึกทักษะในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ เรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงวิพากษ์จากคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมสัมมนา เป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สาขาทางวาทนิเทศและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

This slideshow requires JavaScript.

เข้าชมชุดภาพถ่ายของ Communication Forum 2017: คลิกที่นี่

อ่านข่าวอื่นๆ

Pichaet Tang-on
Pichaet Tang-on
อาจารย์ พิเชษฐ์ แตงอ่อน - สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิทยุ-โทรทัศน์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท ในสาขาวาทนิเทศและการสื่อสารผ่านสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์ในการผลิตสื่อ รวมทั้งการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ในโครงการพัฒนาบุคลิกภาพการพูดและการแสดงออก ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง และนิสิตปริญญาเอก หลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจด้านการผลิตสื่อดิจิตอล เทคโนโลยีการสื่อสาร รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์ในบริบทของเทคโนโลยี