Prapassorn Chansatitporn

February 4, 2017

ข้อสังเกตการสื่อสารของสื่อมวลชน จากคำนำหนังสือพระนิพนธ์ ‘จดหมายเหตุชาวบ้าน ข่าวสมเด็จย่าสวรรคตจากหนังสือพิมพ์’ ในสายพระเนตรสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

การรายงานข่าวหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องสืบเนื่องจากการสวรรคตของพระบรมวงศานุวงศ์นับแต่อดีตจนในห้วงเวลาแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มีทิศทางการนำเสนอข่าวทั้งพระราชพิธีในส่วนของสำนักพระราชวัง การแสดงออกถึงความเศร้าโศกเสียใจของพสกนิกร บรรยากาศโดยรวมของสังคมนั้นปรากฏรูปแบบหรือหลักเกณฑ์ใดที่กำกับอยู่หรือไม่ สิ่งใดที่สื่อสารมวลชนยังคงถือปฏิบัติและสิ่งใดที่ได้ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
April 7, 2017

เวลาเป็นของมีค่า: วาทกรรมสมเด็จย่า โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ย้อนไปในห้วงเวลาแห่งการสูญเสียหนึ่งในสมาชิกราชสกุลมหิดลตามแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เมื่อวันที่ 2 มกราคม พุทธศักราช 2551 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 2 นาฬิกา 54 นาที หนังสือพิมพ์รวมทั้งสื่อมวลชนไทยหลายๆแขนง ได้เสนอข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างต่อเนื่อง พระกรณียกิจหลายด้านได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อ หนึ่งในนั้นคือด้านการเขียน
June 4, 2017

การวิจัยเอกสารในฐานะเครื่องมือการศึกษาเชิงวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง

การวิจัยเอกสาร หรือ การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) เป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัย นักวิชาการหรือผู้ที่มีความสนใจแสวงหาคำตอบทางสังคมศาสตร์หรือมานุษยวิทยาสังคมวิทยามักเลือกใช้เมื่อปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาวิจัยนั้นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือหลักฐานที่เป็น “บุคคลผู้รู้” ที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือแสดงออกซึ่งพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การอธิบายข้อสงสัยต่างๆได้ หรือกระทั่งแม้หากในการศึกษาแต่ละครั้งนั้นหากผู้ศึกษาวิจัยมีความต้องการตรวจสอบหรือแสวงหาคำอธิบายให้รอบด้านเกี่ยวกับโจทย์วิจัยของตนก็อาจจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารต่างๆที่แวดล้อม “บุคคลผู้รู้” เหล่านั้นพร้อมกันไปเพื่อให้มุมมองในการแสวงหาความรู้ในการศึกษานั้นๆครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
July 30, 2017

การวิจัยเชิงเอกสารด้านวาทวิทยา: กรณีศึกษางานวิจัยเรื่องวาทวิทยาในประวัติศาสตร์ไทย

จากทีได้เคยเกริ่นนำเบื้องต้นไปถึงเครื่องมือการวิจัยที่เรียกว่าการวิจัยเอกสาร ในฐานะวิธีการที่มีบทบาทในการศึกษาด้านวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาความหมายที่ปรากฏอยู่ของผลผลิตทางการสื่อสารต่างๆ รอบตัว หรือกระทั่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัยเชิงประวิติศาสตร์ให้เห็นถึงสถานการณ์แวดล้อมช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีตที่ไม่ใช่แค่เพียงดูว่ามีใครเขียนถึงเหตุการณ์ไหนในอดีตไว้ว่าอย่างไร ในคราวนี้จึงจะขอยกตัวอย่างการศึกษาวิจัยทางวาทวิทยาของรองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ผู้มีบทบาทในการศึกษาวาทวิทยาในประเทศไทยในฐานะที่ชี้นำให้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยกลวิธีและความคิดที่บุคคลใช้สื่อสารในสังคมโดยกระตุ้นให้วงการศึกษาตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ระหว่างผู้นำ ผู้ตาม อำนาจและการเมืองการปกครองและบริบทอื่นๆของผู้คนผ่านการสื่อสาร
August 10, 2017

แนวการศึกษาวิจัยสื่อจินตคดีและสื่อสารการแสดงด้วยมุมมองเชิงสุนทรียนิเทศศาสตร์

จากที่ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างหนึ่ง ส่วนสำคัญคือการวิขัยเอกสารถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสวงหาคำตอบจากหลักฐานที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านนอกเหนือจากการสัมภาษณ์หรือการสนทนากลุ่มเพราะเอกสารในที่นี้มิได้หมายถึงแค่เพียงหนังสือหรือสิ่งพิมพ์เท่านั้นแต่กินความรวมถึงผลผลิตทางการสื่อสาร เช่น ผลงานที่ถ่ายทอดผ่านสื่อภาพ สื่อเสียง สื่อการแสดง บทสัมภาษณ์หรือถ้อยคำที่ปรากฏตามแหล่งต่าง ๆ ฯลฯ ที่แวดล้อมบุคคลอยู่ด้วย
September 17, 2017

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร บุคลิกภาพ (Personality) ภาพลักษณ์ (Image) เป็นแนวคิดที่ได้รับการศึกษาและยอมรับกันมายาวนานว่ามีบทบาทสำคัญและสัมพันธ์กับความสามารถในการสื่อสารของบุคคล ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมปัจจุบัน ทั้งในวงวิชาการและวงวิชาชีพที่มองเรื่องบุคลิกภาพและภาพลักษณ์คือสิ่งเหล่านี้มีคุณสมบัติส่งเสริมให้เกิดการรับรู้จากสังคมแวดล้อมและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญให้แก่บุคคลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการมีรับรู้เชิงคุณค่ากับตัวเจ้าของบุคลิกภาพหรือเจ้าของภาพลักษณ์นั้นแต่เพียงลำพัง นั่นหมายความว่า บุคลิกภาพหรือภาพลักษณ์ ได้สื่อสารตัวตนของเจ้าของทั้งในระดับที่ตนเองรู้ตัวและในระดับที่สาธารณะรับรู้ เราจะพบว่า สถาบันฝึกอบรมหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างๆล้วนมีหลักสูตรที่ว่าด้วยการพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ แต่ทั้ง 2 สิ่งนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งครอบคลุมต่างกัน บุคลิกภาพ (Personality) นั้นมีผู้ให้ความหมายไว้กว้างขว้าง ทั้งนี้ผู้เขียนอาจสรุปได้ว่าบุคลิกภาพหมายถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะที่เกิดจากส่งต่อทางพันธุกรรม เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผิว […]