Preeda Akarachantachote

February 5, 2017

โพสต์-โพสต์โมเดิร์นนิสม์กับการสื่อสารในศตวรรษที่ 21

หากว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหมุดหมายสำคัญของการก่อเกิดกระแสปรัชญา “โพสต์โมเดิร์นนิสม์” (Postmodernism) ซึ่งอาจเรียกขานว่า “หลังสมัยใหม่นิยม” หรือ “นวยุคนิยม” ก็ตามที การเกิดขึ้นและแพร่หลายของวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ก็เป็นเหตุสำคัญหนึ่งของปรัชญา “โพสต์-โพสต์โมเดิร์นนิสม์” (Post-postmodernism) หรือ “หลัง-หลังสมัยใหม่นิยม”
April 1, 2017

บทบรรณาธิการ (เมษายน 2560)

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การศึกษาด้านวาทวิทยาหรือวาทนิเทศอยู่ในวงจำกัดก็คือ ผู้คนโดยทั่วไปไม่เข้าใจขอบข่ายของศาสตร์แขนงนี้ โดยมักเชื่อกันว่าวาทวิทยาสอน (แค่) เรื่องการพูด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เห็นว่าจะต้องเสียเวลาเรียนไปทำไม บทความเรื่อง ก่อนจะเข้าสู่…วาทนิเทศในองค์กร โดย รุ้ง ศรีอัษฎาพร ได้อารัมภบทถึงขอบข่ายของการศึกษาสาขานี้ สาขาที่เดิมเน้นศึกษาสื่อบุคคล แต่ปัจจุบันได้ขยายตัวไปถึงการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ในโลกแห่งเทคโนโลยี ดังที่เราจะได้เห็นวิธีคิดและพฤติกรรมการสื่อสารในอินเทอร์เน็ตของกลุ่มคนที่เรียกว่า “ดิจิทัลเนทิฟส์” (Digital Natives) ในบทความของปภัสสรา ชัยวงศ์ เรื่อง อร๊ายยย แรวงส์ มว้ากกกอ่ะแกร…ภาษากับการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ความสามารถทางการสื่อสารของมนุษย์ (แน่นอนว่าไม่ใช่แค่เรื่องการพูด) […]
May 13, 2017

The Mask Singer: ปรากฎการณ์อยากรู้ อยากเห็น และอยากมีส่วนร่วมของสังคมไทย

ความสำเร็จของรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ที่ได้รับความนิยมอย่างมหาศาล จนถึงกับผู้ผลิตอย่างบริษัทเวิร์คพอยต์ต้องผลิตรายการซีซั่น 2 ทันทีที่การแข่งขันจบลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากทุเรียน นอกจากได้ฟังเพลงไปพร้อมกับการคาดเดาผู้อยู่ภายใต้หน้ากาก สนุกไปกับความยียวนของผู้เข้าแข่งขัน และการปล่อยมุกของคณะกรรมการแล้ว รายการนี้ยังได้บอกอัตลักษณ์และพฤติกรรมการสื่อสารของคนไทยอีกไม่น้อย แม้จะจัดเป็นรูปแบบการประกวดร้องเพลง ซึ่งพบเห็นดาษดื่นบนจอโทรทัศน์ในปัจจุบัน หากแต่ “การแข่งขัน” ที่ดำรงอยู่ในรายการไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแข่งขันระหว่างผู้เข้าแข่งขันอย่างที่ปรากฏในรายการประกวดร้องเพลงอื่นๆ
September 17, 2017

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer ปรีดา อัครจันทโชติ แม้ว่ารายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซั่นที่ 2 จะปิดฉากลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากซูโม่แล้ว แต่ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับหน้ากากบางประเด็นชวนให้ขบคิด หน้ากากนั้นโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สำหรับการป้องกันตัว หลอกลวง สร้างความบันเทิง หรือไม่ก็ใช้ประกอบพิธีกรรม หลักฐานที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีการใช้หน้ากากมาไม่ต่ำกว่า 9,000 ปีแล้ว หน้ากากในยุคแรกเริ่มถูกนำมาใช้สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ละภูมิภาคแต่ละวัฒนธรรมต่างใช้หน้ากากแตกต่างกันไป ในอียิปต์โบราณใช้หน้ากากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำมัมมี่ […]