2017, 4 (July-August)

July 29, 2017

สาระฉบับคัดสรรจากโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทนิเทศ ปีการศึกษา 2559

ภารกิจสุดท้ายของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวาทวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ คือการจัดทำโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทวิทยา หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า senior project วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินโครงการ คือ เพื่อให้นิสิตนำความรู้ทางวาทวิทยา (หรือเรียกอีกอย่างว่าวาทนิเทศ) และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาประยุกต์ใช้ เรียนรู้กระบวนการการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพและครบวงจรเพื่อจะพร้อมเข้าสู่การทำงานและการบริหารโครงการในอนาคต เรียกว่าเป็นการทำ Action Research ย่อยๆ เพื่อให้สามารถประยุกต์องค์ความรู้เข้ากับการนำไปใช้จริงได้อย่างสมจริงสมจัง และจะได้เผยแพร่ต่อผู้สนใจทางเว็บไซต์นี้
July 30, 2017

นักแสดง กับการพัฒนาทักษะทางด้านจินตนาการ (2)

ฟิลลิป ซาริลลี (Phillip Zarrilli) นักการละครร่วมสมัย ได้พัฒนาทฤษฎีและรูปแบบการฝึกฝนนักแสดงขึ้นมาอย่างเป็นระบบในแบบที่เรียกว่า Psychophysical Actor Training โดยดึงเอาหลักการฝึกฝนนักแสดงมาจากหลากหลายศิลปะป้องกันตัวและการฝึกพัฒนาสติของเอเชีย Psychophysical actor training ในแบบของซาริลลีเป็นการฝึกฝนระยะยาว โดยเน้นการฝึกฝนท่าทางซ้ำๆ ทุกๆ วัน เพื่อให้เกิดสภาวะที่เขาเรียกว่า “Acting as an embodied phenomenon and process” ซึ่งก็คือการที่สภาวะภายในกับภายนอกของนักแสดงมีการสื่อสารสัมพันธ์กันในกระบวนการรับรู้ รู้สึก จดจำ ปรับให้เข้ากัน และจินตนาการ ซึ่งเป้าหมายทางการแสดงของซาริลลี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การแสดงแบบใดแบบหนึ่ง เพราะเขาให้ความสำคัญกับพลังงานในตัวของนักแสดงในขณะแสดงมากกว่า หลักการของเขาจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นๆ ที่หลากหลายได้
July 30, 2017

การวิจัยเชิงเอกสารด้านวาทวิทยา: กรณีศึกษางานวิจัยเรื่องวาทวิทยาในประวัติศาสตร์ไทย

จากทีได้เคยเกริ่นนำเบื้องต้นไปถึงเครื่องมือการวิจัยที่เรียกว่าการวิจัยเอกสาร ในฐานะวิธีการที่มีบทบาทในการศึกษาด้านวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาความหมายที่ปรากฏอยู่ของผลผลิตทางการสื่อสารต่างๆ รอบตัว หรือกระทั่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัยเชิงประวิติศาสตร์ให้เห็นถึงสถานการณ์แวดล้อมช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีตที่ไม่ใช่แค่เพียงดูว่ามีใครเขียนถึงเหตุการณ์ไหนในอดีตไว้ว่าอย่างไร ในคราวนี้จึงจะขอยกตัวอย่างการศึกษาวิจัยทางวาทวิทยาของรองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ผู้มีบทบาทในการศึกษาวาทวิทยาในประเทศไทยในฐานะที่ชี้นำให้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยกลวิธีและความคิดที่บุคคลใช้สื่อสารในสังคมโดยกระตุ้นให้วงการศึกษาตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ระหว่างผู้นำ ผู้ตาม อำนาจและการเมืองการปกครองและบริบทอื่นๆของผู้คนผ่านการสื่อสาร
August 7, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (1)

สื่อบันเทิงคดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบลายลักษณ์ เช่น วรรณคดี กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น ฯลฯ ล้วนจำต้องอาศัย “วัจนภาษา” เป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความคิดอันเป็นเป้าประสงค์ที่กวีปรารถนา ควบคู่ไปกับ “รสคำ” และ “รสความ” ที่จะช่วยเติมเต็มสีสันให้เกิดขึ้นแก่ผลผลิตนั้น ๆ แต่ละชนชาติย่อมมีข้อตกลง รูปแบบ หรือบรรทัดฐานของศิลปะการใช้ภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเฉพาะกลุ่มว่าด้วย “ความงดงาม” แตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์แต่ละบุคคลก็สามารถสัมผัสความงดงามนั้น ๆ ได้ไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับจริต ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้สัมผัสโดยตรง รวมไปถึงความประณีตของจิตใจที่ได้รับการขัดเกลามาอย่างเป็นระเบียบ
August 10, 2017

แนวการศึกษาวิจัยสื่อจินตคดีและสื่อสารการแสดงด้วยมุมมองเชิงสุนทรียนิเทศศาสตร์

จากที่ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างหนึ่ง ส่วนสำคัญคือการวิขัยเอกสารถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสวงหาคำตอบจากหลักฐานที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านนอกเหนือจากการสัมภาษณ์หรือการสนทนากลุ่มเพราะเอกสารในที่นี้มิได้หมายถึงแค่เพียงหนังสือหรือสิ่งพิมพ์เท่านั้นแต่กินความรวมถึงผลผลิตทางการสื่อสาร เช่น ผลงานที่ถ่ายทอดผ่านสื่อภาพ สื่อเสียง สื่อการแสดง บทสัมภาษณ์หรือถ้อยคำที่ปรากฏตามแหล่งต่าง ๆ ฯลฯ ที่แวดล้อมบุคคลอยู่ด้วย
August 14, 2017

3 เทคนิคการแสดง เพื่อการฟังอย่างจริงใจ

ถ้าถามถึงคุณลักษณะของนักแสดงที่สำคัญ หลาย ๆ คนคงพูดถึงความกล้าแสดงออกเป็นอันดับต้น ๆ และความกล้าแสดงออกนั้น ก็น่าจะหมายถึงความกล้าที่จะสื่อสารผ่านทางคำพูดและการกระทำ อย่างไรก็ตามทักษะการสื่อสารที่สามารถพัฒนาผ่านการเรียนและฝึกฝนการแสดงได้อย่างชัดเจน แต่มักจะถูกมองข้ามไปคือทักษะการฟัง สาเหตุที่การฟังเป็นทักษะที่มักจะถูกมองว่าทุกคนสามารถทำได้ดีโดยไม่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนก็เพราะว่าหลายคนคิดว่ามันไม่ได้ต่างอะไรจาก “การได้ยิน” ในขณะที่ “การได้ยิน” ซึ่งหมายถึงการรับรู้ถึงเสียงและคำที่ผ่านเข้าหูเรา เป็นการกระทำที่แทบจะไม่ต้องใช้พลังงานหรือความพยายามอะไร “การฟัง” จำเป็นต้องใช้สมาธิและพลังงานทางสมองในกระบวนการตีความ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใส่ในบริบทต่าง ๆ
August 17, 2017

ประเด็นการศึกษาวิจัยทางวาทนิเทศในองค์กรจากเวที ICA 2017

หายหน้าหายตากันไป 1 เดือนอันเนื่องมาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กรุณาให้โอกาส และสำคัญคือให้ทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อไปร่วมการประชุมวิชาการ International Communication Association [highlight background="" color="white"]1[/highlight] (ICA) ครั้งที่ 67 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2560ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม กลับมาครั้งนี้ก็จะใช้พื้นที่และโอกาสที่จะแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการวิจัยใหม่ ๆ เรียกว่ารอบนี้มาเป็นงานเขียนฉบับค่อนข้างยาวเพื่อเป็นสร้างประกาย (จะเรียกว่า “ขายหัวข้อ” ก็ว่าได้) ให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อยอดต่อไป