Speech Communication

February 3, 2017

Monster Calls: จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว

แนวคิดด้านจิตวิทยาสมัยใหม่นั้น มุ่งเน้นที่จะศึกษาพฤติกรรมภายในของมนุษย์ เช่น ความคิด ความรู้สึก จิตใจ ฯลฯ มากกว่าการศึกษาพฤติกรรมภายนอก เช่น การกระทำ การพูด ฯลฯ  เพราะมีความเชื่อว่า พฤติกรรมภายในนั้นเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก ซึ่งลักษณะการศึกษาจิตด้วยหลักวิทยาศาสตร์ใหม่เหล่านี้กลับมีความพ้องพานสัมพันธ์กับภาษิตเก่าที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
February 4, 2017

ข้อสังเกตการสื่อสารของสื่อมวลชน จากคำนำหนังสือพระนิพนธ์ ‘จดหมายเหตุชาวบ้าน ข่าวสมเด็จย่าสวรรคตจากหนังสือพิมพ์’ ในสายพระเนตรสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

การรายงานข่าวหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องสืบเนื่องจากการสวรรคตของพระบรมวงศานุวงศ์นับแต่อดีตจนในห้วงเวลาแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มีทิศทางการนำเสนอข่าวทั้งพระราชพิธีในส่วนของสำนักพระราชวัง การแสดงออกถึงความเศร้าโศกเสียใจของพสกนิกร บรรยากาศโดยรวมของสังคมนั้นปรากฏรูปแบบหรือหลักเกณฑ์ใดที่กำกับอยู่หรือไม่ สิ่งใดที่สื่อสารมวลชนยังคงถือปฏิบัติและสิ่งใดที่ได้ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
April 3, 2017

อร๊ายยย แรวงส์ มว้ากกกอ่ะแกร…ภาษากับการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

ในตอนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เล่าถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อโครงสร้างการรับรู้ของสมองและระบบคิด รวมถึงพฤติกรรมการสื่อสารในองค์กรของคนรุ่นดิจิทัลเนทิฟส์ไปแบบเบาๆ พอหอมปากหอมคอ มาในตอนนี้ ก็อยากจะเล่าต่อถึง “ต้นตอ” ของคำ “อร๊ายยย แรวงส์ มว้ากกกอ่ะแกร” ข้างต้นว่ามันมาแต่หนใด และแน่นอนว่า มันก็หนีไม่พ้นเรื่องอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกเช่นกัน
May 13, 2017

แนวโน้มการศึกษาวาทวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์

ในงาน CU Expo 2017 ภายใต้ธีม “จุฬาฯ 100 ปี: นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ทางภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนิสิตเก่ารุ่นต่างๆ ของภาควิชาฯ ก็ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ “นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” ผ่าน 14+ หลักสูตรทางวาทนิเทศและสื่อสารการแสดง (รับชมภาพบรรยากาศได้ทางเฟซบุ๊ก Speech Communication Network) ที่ผู้ร่วมการฝึกอบรมต่างพร้อมใจกันให้คอมเม้นท์ว่า “ดีและฟรี...มีในโลก” เพื่อบริการประชาชนและตอบแทนพระคุณของแหล่งเรียนมา
June 4, 2017

ภาวะผู้นำ กับการสื่อสารภายในตนเอง สู่การเปลี่ยนแปลง

มนุษย์มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเอง การเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มจากภายในบุคคล บุคคลใดที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงย่อมนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ตนเองเป็นอันดับแรก และการเคลื่อนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยจากบุคคลคนหนึ่งนั้นย่อมส่งผลกระทบถึงบุคคลอื่นๆรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัว จากการศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง Transformative Learning ของ Jack D. Mezirow พบว่า มีองค์ประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลงอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. ประสบการณ์ (Experience) อันเป็นของเฉพาะตัว เกิดขึ้นกับเฉพาะคนคนนั้นไม่ซ้ำใครไม่มีใครเหมือน 2. การใคร่ครวญสะท้อนคิด (Critical Reflection) การคิดพิจารณาทบทวนอย่างมีวิจารณญาณลดละอคติทั้งทางบวกและทางลบ 3. การแลกเปลี่ยนอย่างมีเหตุผล (Rational Discourse) การสนทนาขยายความที่ก่อให้เกิดปัญญาในการมองสถานการณ์ๆ ต่างๆ อย่างไม่ตัดสินเลือกข้าง แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ถูกนำมาใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ตามแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกระตุ้นให้ในวัยผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆและเกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด-พฤติกรรม จากภายในตนเองซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีกไม่หยุดนิ่งหากเจ้าของประสบการณ์นั้นทำการใคร่ครวญและพิจารณาอย่างมีเหตุผลจะพบประตูสู่การเปลี่ยนแปลง นำพามาซึ่งวิธีคิดอื่นๆ พฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับตนเอง นับว่าเป็นภาวะการนำตนเอง (self-leadership) อย่างหนึ่ง
June 4, 2017

การวิจัยเอกสารในฐานะเครื่องมือการศึกษาเชิงวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง

การวิจัยเอกสาร หรือ การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) เป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัย นักวิชาการหรือผู้ที่มีความสนใจแสวงหาคำตอบทางสังคมศาสตร์หรือมานุษยวิทยาสังคมวิทยามักเลือกใช้เมื่อปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาวิจัยนั้นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือหลักฐานที่เป็น “บุคคลผู้รู้” ที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือแสดงออกซึ่งพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การอธิบายข้อสงสัยต่างๆได้ หรือกระทั่งแม้หากในการศึกษาแต่ละครั้งนั้นหากผู้ศึกษาวิจัยมีความต้องการตรวจสอบหรือแสวงหาคำอธิบายให้รอบด้านเกี่ยวกับโจทย์วิจัยของตนก็อาจจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารต่างๆที่แวดล้อม “บุคคลผู้รู้” เหล่านั้นพร้อมกันไปเพื่อให้มุมมองในการแสวงหาความรู้ในการศึกษานั้นๆครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
July 29, 2017

สาระฉบับคัดสรรจากโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทนิเทศ ปีการศึกษา 2559

ภารกิจสุดท้ายของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวาทวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ คือการจัดทำโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทวิทยา หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า senior project วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินโครงการ คือ เพื่อให้นิสิตนำความรู้ทางวาทวิทยา (หรือเรียกอีกอย่างว่าวาทนิเทศ) และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาประยุกต์ใช้ เรียนรู้กระบวนการการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพและครบวงจรเพื่อจะพร้อมเข้าสู่การทำงานและการบริหารโครงการในอนาคต เรียกว่าเป็นการทำ Action Research ย่อยๆ เพื่อให้สามารถประยุกต์องค์ความรู้เข้ากับการนำไปใช้จริงได้อย่างสมจริงสมจัง และจะได้เผยแพร่ต่อผู้สนใจทางเว็บไซต์นี้
July 30, 2017

การวิจัยเชิงเอกสารด้านวาทวิทยา: กรณีศึกษางานวิจัยเรื่องวาทวิทยาในประวัติศาสตร์ไทย

จากทีได้เคยเกริ่นนำเบื้องต้นไปถึงเครื่องมือการวิจัยที่เรียกว่าการวิจัยเอกสาร ในฐานะวิธีการที่มีบทบาทในการศึกษาด้านวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาความหมายที่ปรากฏอยู่ของผลผลิตทางการสื่อสารต่างๆ รอบตัว หรือกระทั่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัยเชิงประวิติศาสตร์ให้เห็นถึงสถานการณ์แวดล้อมช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีตที่ไม่ใช่แค่เพียงดูว่ามีใครเขียนถึงเหตุการณ์ไหนในอดีตไว้ว่าอย่างไร ในคราวนี้จึงจะขอยกตัวอย่างการศึกษาวิจัยทางวาทวิทยาของรองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ผู้มีบทบาทในการศึกษาวาทวิทยาในประเทศไทยในฐานะที่ชี้นำให้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยกลวิธีและความคิดที่บุคคลใช้สื่อสารในสังคมโดยกระตุ้นให้วงการศึกษาตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ระหว่างผู้นำ ผู้ตาม อำนาจและการเมืองการปกครองและบริบทอื่นๆของผู้คนผ่านการสื่อสาร
August 7, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (1)

สื่อบันเทิงคดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบลายลักษณ์ เช่น วรรณคดี กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น ฯลฯ ล้วนจำต้องอาศัย “วัจนภาษา” เป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความคิดอันเป็นเป้าประสงค์ที่กวีปรารถนา ควบคู่ไปกับ “รสคำ” และ “รสความ” ที่จะช่วยเติมเต็มสีสันให้เกิดขึ้นแก่ผลผลิตนั้น ๆ แต่ละชนชาติย่อมมีข้อตกลง รูปแบบ หรือบรรทัดฐานของศิลปะการใช้ภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเฉพาะกลุ่มว่าด้วย “ความงดงาม” แตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์แต่ละบุคคลก็สามารถสัมผัสความงดงามนั้น ๆ ได้ไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับจริต ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้สัมผัสโดยตรง รวมไปถึงความประณีตของจิตใจที่ได้รับการขัดเกลามาอย่างเป็นระเบียบ