2017, 5 (September-October)

September 17, 2017

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer ปรีดา อัครจันทโชติ แม้ว่ารายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซั่นที่ 2 จะปิดฉากลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากซูโม่แล้ว แต่ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับหน้ากากบางประเด็นชวนให้ขบคิด หน้ากากนั้นโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สำหรับการป้องกันตัว หลอกลวง สร้างความบันเทิง หรือไม่ก็ใช้ประกอบพิธีกรรม หลักฐานที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีการใช้หน้ากากมาไม่ต่ำกว่า 9,000 ปีแล้ว หน้ากากในยุคแรกเริ่มถูกนำมาใช้สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ละภูมิภาคแต่ละวัฒนธรรมต่างใช้หน้ากากแตกต่างกันไป ในอียิปต์โบราณใช้หน้ากากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำมัมมี่ […]
September 17, 2017

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร บุคลิกภาพ (Personality) ภาพลักษณ์ (Image) เป็นแนวคิดที่ได้รับการศึกษาและยอมรับกันมายาวนานว่ามีบทบาทสำคัญและสัมพันธ์กับความสามารถในการสื่อสารของบุคคล ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมปัจจุบัน ทั้งในวงวิชาการและวงวิชาชีพที่มองเรื่องบุคลิกภาพและภาพลักษณ์คือสิ่งเหล่านี้มีคุณสมบัติส่งเสริมให้เกิดการรับรู้จากสังคมแวดล้อมและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญให้แก่บุคคลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการมีรับรู้เชิงคุณค่ากับตัวเจ้าของบุคลิกภาพหรือเจ้าของภาพลักษณ์นั้นแต่เพียงลำพัง นั่นหมายความว่า บุคลิกภาพหรือภาพลักษณ์ ได้สื่อสารตัวตนของเจ้าของทั้งในระดับที่ตนเองรู้ตัวและในระดับที่สาธารณะรับรู้ เราจะพบว่า สถาบันฝึกอบรมหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างๆล้วนมีหลักสูตรที่ว่าด้วยการพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ แต่ทั้ง 2 สิ่งนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งครอบคลุมต่างกัน บุคลิกภาพ (Personality) นั้นมีผู้ให้ความหมายไว้กว้างขว้าง ทั้งนี้ผู้เขียนอาจสรุปได้ว่าบุคลิกภาพหมายถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะที่เกิดจากส่งต่อทางพันธุกรรม เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผิว […]
September 17, 2017

พึงใช้ “ไลน์” ให้เวิร์คเถิด…จะเกิดผล

พึงใช้ “ไลน์” ให้เวิร์คเถิด…จะเกิดผล ปภัสสรา ชัยวงศ์ 0.0 อะไรอะไรก็ไลน์ “เด็กสมัยนี้ชอบส่งข้อความ บางทีก็ลืมไปว่าถ้าด่วนนี่ควรโทรมาดีกว่ามั้ย” “น่าสนใจมาก บางทีเราโทรไป น้องเค้าไม่รับสาย แต่พอส่งข้อความตามไป ปรากฏว่าอ่านทันที” “พี่เค้าก็ชอบส่งสติ๊กเกอร์สวัสดีวันจันทร์…เน้นส่งสติ๊กเกอร์ แต่ก็ไม่เห็นพิมพ์อะไร… คงจะพยายามสร้างสัมพันธ์กับเรา” “เราสร้างกรุ๊ปไลน์ในการทำงานร่วมกัน เราก็มักจะพิมพ์ข้อความยาวๆ เพื่อให้น้องเค้าอ่านเข้าใจในคราวเดียว แต่เวลาน้องๆ ตอบนี่ก็จะงงสักหน่อย เพราะจะตอบสั้นๆ และตอบเร็วมาก เสียงเตือนดังต่อๆ กันเลย […]
September 18, 2017

โยคะสำหรับ Public Speaking

โยคะสำหรับ Public Speaking กฤษณะ พันธุ์เพ็ง คืนก่อนหน้าที่จะต้องพูดต่อหน้าสาธารณะ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับงานวิจัย บรรยายในหัวข้อต่างๆ หรือเป็นการสอนกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน มักจะเป็นคืนที่นอนหลับยากที่สุดของผู้เขียน ซึ่งหลายๆ คนก็คงจะเคยประสบกับปัญหาเดียวกัน สิ่งที่รบกวนจิตใจจนเป็นอุปสรรคที่ทำให้นอนไม่หลับนั้นก็คือความกลัวว่าเหตุการณ์แย่ๆต่างๆ จะเกิดขึ้นมาเมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดจริงๆ เช่นการลืมเนื้อหาที่จะพูด คอมพิวเตอร์ขัดข้อง ผู้ฟังไม่สนใจฟัง หรือซับซ้อนมากกว่านั้นก็คือกลัวและกังวลว่าตอนพูดจะตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง หรือกลัวว่าจะตื่นสาย ซึ่งความกลัวและกังวลนี้อาจจะมีข้อดีที่ช่วยให้เราได้เตรียมความพร้อมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลและตื่นเต้นมากขึ้นไปอีกขั้น จนเป็นความกังวลว่าจะนอนไม่หลับและตื่นสายจนเพลียและตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ทำให้นอนไม่หลับจริงๆ (และนำไปสู่ความกังวลจริงๆเมื่อถึงเวลาพูด) ในหนังสือชื่อ Why […]
September 18, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (2)

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (2) ธนสิน ชุตินธรานนท์ บทความที่แล้วได้กล่าวถึงภาพพจน์วาทศิลป์ประเภท “สมมุติภาวะ” ซึ่งเป็นภาพพจน์ประเภทแรกที่พบได้บ่อยครั้งในสื่อบันเทิงคดีไทย ซึ่งช่วยส่งเสริมจินตภาพ และอารมณ์สะเทือนใจให้แก่ผู้รับสารอย่างแยบคาย ในบทความนี้จะขอนำเสนอภาพพจน์วาทศิลป์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นศิลปะการเรียงร้อยถ้อยคำเพื่อการสื่อสารให้บังเกิดผลตามที่ผู้ส่งสารปรารถนาอย่างละเมียดละไม และสร้างชั้นเชิงทางการสื่อสาร กล่าวคือ การใช้ “โวหารย้อนคำ” โวหารย้อนคำ คือ รูปแบบการใช้ประโยคคู่ขนาน โดยกวี หรือผู้ส่งสารได้เรียบเรียงความคิดอย่างเป็นระบบ และประดิษฐ์นำเสนอข้อความโดยการสลับที่ถ้อยคำในชุดเดียวกัน ซึ่งในกรณีของร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์สามารถปรากฏทั้งในวรรคเดียวกัน บาทเดียวกัน หรือบทเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำสารัตถะอย่างมีเอกภาพ และสร้างความสละสลวยคมคายให้แก่สาระที่นำเสนอ […]
September 19, 2017

การสื่อสารภายในตนเอง กับการเดินทางขึ้นสู่ปล่องภูเขาไฟฟูจิ

การสื่อสารภายในตนเอง กับการเดินทางขึ้นสู่ปล่องภูเขาไฟฟูจิ ปอรรัชม์ ยอดเณร เมื่อวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยมีเป้าหมายเพื่อไปปีนพิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสขึ้นไปเฉพาะในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี แล้วแต่ช่วงจังหวะและสภาพอากาศซึ่งต้องคอยติดตามข่าวสารกันเป็นระยะ การเดินทางในครั้งนี้ผู้เขียนได้วางแผนกันตั้งแต่ต้นปีเมื่อรู้ตารางเวลาวันหยุดยาวในประเทศไทยและจัดสรรเวลาที่จะสามารถไปได้ทันในช่วงที่เปิดให้ขึ้นเขาได้ ซึ่งตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาในเดือนกรกฎาคมพอดี แต่กว่าจะสามารถจองที่พักและการเดินทางสู่ยอดเขาได้ก็ต้องรอเวลาถึงเดือนเมษายนจึงจะสามารถยืนยันการเดินทางและที่พักบนยอดเขาได้ ซึ่งอาศัยน้องๆ ที่รู้จักที่ญี่ปุ่นคอยช่วยส่งข้อมูลและเป็นผู้จองทัวร์การเดินทาง อันเนื่องจากบริษัททัวร์ในเมืองไทยก็มีไม่กี่เจ้าที่จะเปิดขายทัวร์นี้และก็มีราคาสูงมาก จึงต้องจองจากทางญี่ปุ่น และการจองก็มีทั้งแบบการเดินทางไปพร้อมกับหัวหน้าทัวร์โดยจะขึ้นเป็นชุดๆ ไปพร้อมกัน หรือจะเลือกเดินทางขึ้นเขาเองแล้วนัดหมายขึ้นรถบัสไปกลับพร้อมกัน หรือจะเลือกแบบแบคแพคเกอร์ทำเองทุกอย่างเลยก็ได้ แต่จากการศึกษาและการปรึกษาสมาชิกภายในกลุ่มจึงได้คำตอบว่าเราเลือกทางที่มีบริษัททัวร์พาไปแต่ไม่ต้องนำทาง เพราะเส้นทางขึ้นเขามีทางเดียว หมายถึงถ้าเราเลือก […]