Rhetorical Figure

September 18, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (2)

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (2) ธนสิน ชุตินธรานนท์ บทความที่แล้วได้กล่าวถึงภาพพจน์วาทศิลป์ประเภท “สมมุติภาวะ” ซึ่งเป็นภาพพจน์ประเภทแรกที่พบได้บ่อยครั้งในสื่อบันเทิงคดีไทย ซึ่งช่วยส่งเสริมจินตภาพ และอารมณ์สะเทือนใจให้แก่ผู้รับสารอย่างแยบคาย ในบทความนี้จะขอนำเสนอภาพพจน์วาทศิลป์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นศิลปะการเรียงร้อยถ้อยคำเพื่อการสื่อสารให้บังเกิดผลตามที่ผู้ส่งสารปรารถนาอย่างละเมียดละไม และสร้างชั้นเชิงทางการสื่อสาร กล่าวคือ การใช้ “โวหารย้อนคำ” โวหารย้อนคำ คือ รูปแบบการใช้ประโยคคู่ขนาน โดยกวี หรือผู้ส่งสารได้เรียบเรียงความคิดอย่างเป็นระบบ และประดิษฐ์นำเสนอข้อความโดยการสลับที่ถ้อยคำในชุดเดียวกัน ซึ่งในกรณีของร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์สามารถปรากฏทั้งในวรรคเดียวกัน บาทเดียวกัน หรือบทเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำสารัตถะอย่างมีเอกภาพ และสร้างความสละสลวยคมคายให้แก่สาระที่นำเสนอ […]
December 22, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (3)

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (3) ธนสิน ชุตินธรานนท์ ภาพพจน์วาทศิลป์ เป็นศิลปะการใช้ภาษาเพื่อมุ่งส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพทางการสื่อสาร ในสื่อ  บันเทิงคดีไทยการสร้างอารมณ์ความรู้สึกแก่ผู้รับสารนับเป็นเป้าประสงค์สำคัญที่ผู้ส่งสารต้องคัดสรร และ  ออกแบบสารให้สัมฤทธิผลที่มุ่งหวังบังเกิดขึ้น วัจนสารนับเป็นสิ่งที่สื่อบันเทิงคดีส่วนใหญ่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นภาพพจน์วาทศิลป์อันหลากหลายจึงได้รับการหยิบยกมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบสาร ซึ่ง  ภาพพจน์ต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ได้เป็นข้อกำหนดตายตัว หรือเป็นสมบัติของผู้ใดผู้หนึ่ง หากแต่เป็นสมบัติร่วม  ของผู้สร้างสรรค์ที่จะนำมาใช้ในสารของตน ทั้งนี้ผู้ส่งสารที่มีความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อข้อจำกัดในการเลือกสรรกลวิธีต่าง ๆ มาใช้ในงานของตน โวหารเล่นคำหลากความ […]