Intrapersonal Communication

February 3, 2017

Monster Calls: จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว

แนวคิดด้านจิตวิทยาสมัยใหม่นั้น มุ่งเน้นที่จะศึกษาพฤติกรรมภายในของมนุษย์ เช่น ความคิด ความรู้สึก จิตใจ ฯลฯ มากกว่าการศึกษาพฤติกรรมภายนอก เช่น การกระทำ การพูด ฯลฯ  เพราะมีความเชื่อว่า พฤติกรรมภายในนั้นเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก ซึ่งลักษณะการศึกษาจิตด้วยหลักวิทยาศาสตร์ใหม่เหล่านี้กลับมีความพ้องพานสัมพันธ์กับภาษิตเก่าที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
June 4, 2017

ภาวะผู้นำ กับการสื่อสารภายในตนเอง สู่การเปลี่ยนแปลง

มนุษย์มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเอง การเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มจากภายในบุคคล บุคคลใดที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงย่อมนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ตนเองเป็นอันดับแรก และการเคลื่อนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยจากบุคคลคนหนึ่งนั้นย่อมส่งผลกระทบถึงบุคคลอื่นๆรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัว จากการศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง Transformative Learning ของ Jack D. Mezirow พบว่า มีองค์ประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลงอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. ประสบการณ์ (Experience) อันเป็นของเฉพาะตัว เกิดขึ้นกับเฉพาะคนคนนั้นไม่ซ้ำใครไม่มีใครเหมือน 2. การใคร่ครวญสะท้อนคิด (Critical Reflection) การคิดพิจารณาทบทวนอย่างมีวิจารณญาณลดละอคติทั้งทางบวกและทางลบ 3. การแลกเปลี่ยนอย่างมีเหตุผล (Rational Discourse) การสนทนาขยายความที่ก่อให้เกิดปัญญาในการมองสถานการณ์ๆ ต่างๆ อย่างไม่ตัดสินเลือกข้าง แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ถูกนำมาใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ตามแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกระตุ้นให้ในวัยผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆและเกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด-พฤติกรรม จากภายในตนเองซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีกไม่หยุดนิ่งหากเจ้าของประสบการณ์นั้นทำการใคร่ครวญและพิจารณาอย่างมีเหตุผลจะพบประตูสู่การเปลี่ยนแปลง นำพามาซึ่งวิธีคิดอื่นๆ พฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับตนเอง นับว่าเป็นภาวะการนำตนเอง (self-leadership) อย่างหนึ่ง
September 18, 2017

โยคะสำหรับ Public Speaking

โยคะสำหรับ Public Speaking กฤษณะ พันธุ์เพ็ง คืนก่อนหน้าที่จะต้องพูดต่อหน้าสาธารณะ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับงานวิจัย บรรยายในหัวข้อต่างๆ หรือเป็นการสอนกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน มักจะเป็นคืนที่นอนหลับยากที่สุดของผู้เขียน ซึ่งหลายๆ คนก็คงจะเคยประสบกับปัญหาเดียวกัน สิ่งที่รบกวนจิตใจจนเป็นอุปสรรคที่ทำให้นอนไม่หลับนั้นก็คือความกลัวว่าเหตุการณ์แย่ๆต่างๆ จะเกิดขึ้นมาเมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดจริงๆ เช่นการลืมเนื้อหาที่จะพูด คอมพิวเตอร์ขัดข้อง ผู้ฟังไม่สนใจฟัง หรือซับซ้อนมากกว่านั้นก็คือกลัวและกังวลว่าตอนพูดจะตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง หรือกลัวว่าจะตื่นสาย ซึ่งความกลัวและกังวลนี้อาจจะมีข้อดีที่ช่วยให้เราได้เตรียมความพร้อมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลและตื่นเต้นมากขึ้นไปอีกขั้น จนเป็นความกังวลว่าจะนอนไม่หลับและตื่นสายจนเพลียและตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ทำให้นอนไม่หลับจริงๆ (และนำไปสู่ความกังวลจริงๆเมื่อถึงเวลาพูด) ในหนังสือชื่อ Why […]
September 19, 2017

การสื่อสารภายในตนเอง กับการเดินทางขึ้นสู่ปล่องภูเขาไฟฟูจิ

การสื่อสารภายในตนเอง กับการเดินทางขึ้นสู่ปล่องภูเขาไฟฟูจิ ปอรรัชม์ ยอดเณร เมื่อวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยมีเป้าหมายเพื่อไปปีนพิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสขึ้นไปเฉพาะในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี แล้วแต่ช่วงจังหวะและสภาพอากาศซึ่งต้องคอยติดตามข่าวสารกันเป็นระยะ การเดินทางในครั้งนี้ผู้เขียนได้วางแผนกันตั้งแต่ต้นปีเมื่อรู้ตารางเวลาวันหยุดยาวในประเทศไทยและจัดสรรเวลาที่จะสามารถไปได้ทันในช่วงที่เปิดให้ขึ้นเขาได้ ซึ่งตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาในเดือนกรกฎาคมพอดี แต่กว่าจะสามารถจองที่พักและการเดินทางสู่ยอดเขาได้ก็ต้องรอเวลาถึงเดือนเมษายนจึงจะสามารถยืนยันการเดินทางและที่พักบนยอดเขาได้ ซึ่งอาศัยน้องๆ ที่รู้จักที่ญี่ปุ่นคอยช่วยส่งข้อมูลและเป็นผู้จองทัวร์การเดินทาง อันเนื่องจากบริษัททัวร์ในเมืองไทยก็มีไม่กี่เจ้าที่จะเปิดขายทัวร์นี้และก็มีราคาสูงมาก จึงต้องจองจากทางญี่ปุ่น และการจองก็มีทั้งแบบการเดินทางไปพร้อมกับหัวหน้าทัวร์โดยจะขึ้นเป็นชุดๆ ไปพร้อมกัน หรือจะเลือกเดินทางขึ้นเขาเองแล้วนัดหมายขึ้นรถบัสไปกลับพร้อมกัน หรือจะเลือกแบบแบคแพคเกอร์ทำเองทุกอย่างเลยก็ได้ แต่จากการศึกษาและการปรึกษาสมาชิกภายในกลุ่มจึงได้คำตอบว่าเราเลือกทางที่มีบริษัททัวร์พาไปแต่ไม่ต้องนำทาง เพราะเส้นทางขึ้นเขามีทางเดียว หมายถึงถ้าเราเลือก […]
July 14, 2019

In search of your identity: คิด ค้น หาตัวตน

พบกันปีละครั้ง สำหรับ “องค์ความรู้สกัดเข้มข้น” จากโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทนิเทศ (senior project) โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวาทนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สำหรับโครงการชุดแรกที่จะดำเนินการเผยแพร่ (project dissemination) ผ่านแพลตฟอร์มนี้ เกี่ยวข้องกับ “การค้นหาตัวตน” ที่นิสิตต่อยอดมาจากงานของรุ่นพี่ 49 สาขาวาทวิทยาที่ทิ้งคำถามไว้ว่า “จะตั้งคำถามถามตัวเองอย่างไรจึงจะได้ค้นพบตัวตน” ในปีนี้ นิสิตเสนอ 2 โครงการทั้งแบบคลาสสิคซึ่งอ่านตัวเองผ่านความคิด และโครงการที่เทรนดี้ (trendy) ซึ่งเลือกใช้ “การหาสไตล์” การแต่งกายในการค้นหาตัวตน