May 13, 2017
- All
- 2017, 1 (January-February)
- 2017, 2 (March-April)
- 2017, 3 (May-June)
- 2017, 4 (July-August)
- 2017, 5 (September-October)
- 2017, 6 (November-December)
- 2018, 1 (June-August)
- 2019, 1 (July-September)
- Aesthetic Communications
- Archives
- Articles
- Authors
- Communication Competence
- Communication Criticism
- Communication Phenomenon
- Communication Research
- Communication Technology
- Critical Discourse Analysis
- Cultural Studies
- Digital Communication
- Editorials
- Empathic Communication
- Extrapersonal Communication
- Family Communication
- Grisana Punpeng
- Human Communication
- Interpersonal Communication
- Intrapersonal Communication
- Jirayudh Sinthuphan
- Mass Communication
- News
- Organizational Communication
- Paonrach Yodnane
- Papassara Chaiwong
- Performing Arts
- Pichaet Tang-on
- Prapassorn Chansatitporn
- Preeda Akarachantachote
- Rhetoric
- Southeast Asian Studies
- Speech Communication
- Sukanya Sompiboon
- Thanasin Chutintaranond
May 13, 2017
จินตนาการ เป็นกิจกรรมสำคัญของสมองที่มนุษย์ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ นักปรัชญาหลายคนตั้งแต่เพลโต (Plato) เป็นต้นมาได้ยกให้จินตนาการเป็น 1 ใน 4 ความสามารถที่สำคัญของจิตมนุษย์ นอกเหนือจากเหตุผล (reason) ความเข้าใจ (understanding) และศรัทธา (faith) อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่าความสำคัญของจินตนาการได้ถูกลดทอนลงในสมัยปัจจุบัน โดยถูกจำกัดให้อยู่ในช่วงการเรียนรู้ในวัยเด็ก ด้านศิลปะและความบันเทิง หรือในโลกของความเพ้อฝันที่เกินเลยจากโลกของความเป็นจริงเพียง มันถูกมองว่าเป็นความสามารถพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติม หรือพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมาก
May 13, 2017
ในงาน CU Expo 2017 ภายใต้ธีม “จุฬาฯ 100 ปี: นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ทางภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนิสิตเก่ารุ่นต่างๆ ของภาควิชาฯ ก็ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ “นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” ผ่าน 14+ หลักสูตรทางวาทนิเทศและสื่อสารการแสดง (รับชมภาพบรรยากาศได้ทางเฟซบุ๊ก Speech Communication Network) ที่ผู้ร่วมการฝึกอบรมต่างพร้อมใจกันให้คอมเม้นท์ว่า “ดีและฟรี...มีในโลก” เพื่อบริการประชาชนและตอบแทนพระคุณของแหล่งเรียนมา
May 13, 2017
ความสำเร็จของรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ที่ได้รับความนิยมอย่างมหาศาล จนถึงกับผู้ผลิตอย่างบริษัทเวิร์คพอยต์ต้องผลิตรายการซีซั่น 2 ทันทีที่การแข่งขันจบลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากทุเรียน นอกจากได้ฟังเพลงไปพร้อมกับการคาดเดาผู้อยู่ภายใต้หน้ากาก สนุกไปกับความยียวนของผู้เข้าแข่งขัน และการปล่อยมุกของคณะกรรมการแล้ว รายการนี้ยังได้บอกอัตลักษณ์และพฤติกรรมการสื่อสารของคนไทยอีกไม่น้อย แม้จะจัดเป็นรูปแบบการประกวดร้องเพลง ซึ่งพบเห็นดาษดื่นบนจอโทรทัศน์ในปัจจุบัน หากแต่ “การแข่งขัน” ที่ดำรงอยู่ในรายการไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแข่งขันระหว่างผู้เข้าแข่งขันอย่างที่ปรากฏในรายการประกวดร้องเพลงอื่นๆ
June 4, 2017
มนุษย์มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเอง การเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มจากภายในบุคคล บุคคลใดที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงย่อมนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ตนเองเป็นอันดับแรก และการเคลื่อนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยจากบุคคลคนหนึ่งนั้นย่อมส่งผลกระทบถึงบุคคลอื่นๆรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัว จากการศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง Transformative Learning ของ Jack D. Mezirow พบว่า มีองค์ประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลงอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. ประสบการณ์ (Experience) อันเป็นของเฉพาะตัว เกิดขึ้นกับเฉพาะคนคนนั้นไม่ซ้ำใครไม่มีใครเหมือน 2. การใคร่ครวญสะท้อนคิด (Critical Reflection) การคิดพิจารณาทบทวนอย่างมีวิจารณญาณลดละอคติทั้งทางบวกและทางลบ 3. การแลกเปลี่ยนอย่างมีเหตุผล (Rational Discourse) การสนทนาขยายความที่ก่อให้เกิดปัญญาในการมองสถานการณ์ๆ ต่างๆ อย่างไม่ตัดสินเลือกข้าง แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ถูกนำมาใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ตามแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกระตุ้นให้ในวัยผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆและเกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด-พฤติกรรม จากภายในตนเองซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีกไม่หยุดนิ่งหากเจ้าของประสบการณ์นั้นทำการใคร่ครวญและพิจารณาอย่างมีเหตุผลจะพบประตูสู่การเปลี่ยนแปลง นำพามาซึ่งวิธีคิดอื่นๆ พฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับตนเอง นับว่าเป็นภาวะการนำตนเอง (self-leadership) อย่างหนึ่ง
June 4, 2017
การวิจัยเอกสาร หรือ การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) เป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัย นักวิชาการหรือผู้ที่มีความสนใจแสวงหาคำตอบทางสังคมศาสตร์หรือมานุษยวิทยาสังคมวิทยามักเลือกใช้เมื่อปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาวิจัยนั้นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือหลักฐานที่เป็น “บุคคลผู้รู้” ที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือแสดงออกซึ่งพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การอธิบายข้อสงสัยต่างๆได้ หรือกระทั่งแม้หากในการศึกษาแต่ละครั้งนั้นหากผู้ศึกษาวิจัยมีความต้องการตรวจสอบหรือแสวงหาคำอธิบายให้รอบด้านเกี่ยวกับโจทย์วิจัยของตนก็อาจจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารต่างๆที่แวดล้อม “บุคคลผู้รู้” เหล่านั้นพร้อมกันไปเพื่อให้มุมมองในการแสวงหาความรู้ในการศึกษานั้นๆครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น