2017, 1 (January-February)

February 1, 2017

วัฒนธรรมบันเทิงบนชุมทางอาเซียน

ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้ คงไม่มีหัวเรื่องใดที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาสนทนากันบ่อยครั้งเท่ากับเรื่องราวของประชาคมอาเซียน การรวมตัวอย่างเป็นรูปธรรมของชาติสมาชิก 10 ชาติในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าย่อมจะนำกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่มาสู่ชีวิตของผู้คนในภูมิภาคนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ แง่มุมต่างๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างชาติสมาชิกอาเซียน ทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้า การบริหารรัฐกิจและการศึกษา ไดัถูกนำมาเล่าขานผ่านวงสนทนาวิชาการและสื่อสารมวลชนกันอย่างสม่ำเสมอ
February 2, 2017

เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารของผู้คนในยุคดิจิตัล

แสตมป์ อภิวัชร์ ผู้แต่งเพลง “โอมจงเงย” ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรงครั้งหนึ่ง ซึ่งเขาพบว่า “... คนนั่งอยู่เต็มห้อง แต่ไม่มีใครคุยกันเลย นั่งจิ้ม โทรศัพท์กันหมด ...” ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อเทคโนโลยีต่อพฤติกรรมการสื่อสารของผู้คนยุคนี้ในทุกบริบทของชีวิต ไม่ว่าจะในที่สาธารณะ ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งในครอบครัวซึ่งก่อนหน้านี้เป็นพื้นที่ที่สมาชิกเคยได้พูดคุย มองหน้ามองตากันได้ในระยะใกล้ชิด
February 3, 2017

Monster Calls: จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว

แนวคิดด้านจิตวิทยาสมัยใหม่นั้น มุ่งเน้นที่จะศึกษาพฤติกรรมภายในของมนุษย์ เช่น ความคิด ความรู้สึก จิตใจ ฯลฯ มากกว่าการศึกษาพฤติกรรมภายนอก เช่น การกระทำ การพูด ฯลฯ  เพราะมีความเชื่อว่า พฤติกรรมภายในนั้นเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก ซึ่งลักษณะการศึกษาจิตด้วยหลักวิทยาศาสตร์ใหม่เหล่านี้กลับมีความพ้องพานสัมพันธ์กับภาษิตเก่าที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
February 4, 2017

ข้อสังเกตการสื่อสารของสื่อมวลชน จากคำนำหนังสือพระนิพนธ์ ‘จดหมายเหตุชาวบ้าน ข่าวสมเด็จย่าสวรรคตจากหนังสือพิมพ์’ ในสายพระเนตรสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

การรายงานข่าวหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องสืบเนื่องจากการสวรรคตของพระบรมวงศานุวงศ์นับแต่อดีตจนในห้วงเวลาแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มีทิศทางการนำเสนอข่าวทั้งพระราชพิธีในส่วนของสำนักพระราชวัง การแสดงออกถึงความเศร้าโศกเสียใจของพสกนิกร บรรยากาศโดยรวมของสังคมนั้นปรากฏรูปแบบหรือหลักเกณฑ์ใดที่กำกับอยู่หรือไม่ สิ่งใดที่สื่อสารมวลชนยังคงถือปฏิบัติและสิ่งใดที่ได้ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
February 5, 2017

โพสต์-โพสต์โมเดิร์นนิสม์กับการสื่อสารในศตวรรษที่ 21

หากว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหมุดหมายสำคัญของการก่อเกิดกระแสปรัชญา “โพสต์โมเดิร์นนิสม์” (Postmodernism) ซึ่งอาจเรียกขานว่า “หลังสมัยใหม่นิยม” หรือ “นวยุคนิยม” ก็ตามที การเกิดขึ้นและแพร่หลายของวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ก็เป็นเหตุสำคัญหนึ่งของปรัชญา “โพสต์-โพสต์โมเดิร์นนิสม์” (Post-postmodernism) หรือ “หลัง-หลังสมัยใหม่นิยม”
February 6, 2017

การข้ามพ้น ‘ตะวันออก’ พบ ‘ตะวันตก’ ในการแสดง: แนวนิยามเบื้องต้นแห่งกรอบแนวคิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมในสื่อสารการแสดง

“อีสต์ มีท เวสต์” (East meets West หรือ West meets East) ซึ่งหมายถึง การมาบรรจบกัน การมาพบกันของวัฒนธรรม ‘ตะวันออก’และ ‘ตะวันตก’ ที่ได้รับอิทธิพลจากสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสงคราม ซึ่งในความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไปคือวัฒนธรรมการแสดงของทางเอเชียกับวัฒนธรรมทางการแสดงของฟากฝั่งยุโรปและอเมริกา หรือมีอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการสร้างสรรค์งานที่มีการข้ามวัฒนธรรม (cross cultural theatre) หรือระหว่างวัฒนธรรม (intercultural theatre) มาเกี่ยวข้อง