Human Communication

April 3, 2017

อร๊ายยย แรวงส์ มว้ากกกอ่ะแกร…ภาษากับการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

ในตอนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เล่าถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อโครงสร้างการรับรู้ของสมองและระบบคิด รวมถึงพฤติกรรมการสื่อสารในองค์กรของคนรุ่นดิจิทัลเนทิฟส์ไปแบบเบาๆ พอหอมปากหอมคอ มาในตอนนี้ ก็อยากจะเล่าต่อถึง “ต้นตอ” ของคำ “อร๊ายยย แรวงส์ มว้ากกกอ่ะแกร” ข้างต้นว่ามันมาแต่หนใด และแน่นอนว่า มันก็หนีไม่พ้นเรื่องอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกเช่นกัน
May 13, 2017

แนวโน้มการศึกษาวาทวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์

ในงาน CU Expo 2017 ภายใต้ธีม “จุฬาฯ 100 ปี: นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ทางภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนิสิตเก่ารุ่นต่างๆ ของภาควิชาฯ ก็ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ “นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” ผ่าน 14+ หลักสูตรทางวาทนิเทศและสื่อสารการแสดง (รับชมภาพบรรยากาศได้ทางเฟซบุ๊ก Speech Communication Network) ที่ผู้ร่วมการฝึกอบรมต่างพร้อมใจกันให้คอมเม้นท์ว่า “ดีและฟรี...มีในโลก” เพื่อบริการประชาชนและตอบแทนพระคุณของแหล่งเรียนมา
June 4, 2017

ภาวะผู้นำ กับการสื่อสารภายในตนเอง สู่การเปลี่ยนแปลง

มนุษย์มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเอง การเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มจากภายในบุคคล บุคคลใดที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงย่อมนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ตนเองเป็นอันดับแรก และการเคลื่อนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยจากบุคคลคนหนึ่งนั้นย่อมส่งผลกระทบถึงบุคคลอื่นๆรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัว จากการศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง Transformative Learning ของ Jack D. Mezirow พบว่า มีองค์ประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลงอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. ประสบการณ์ (Experience) อันเป็นของเฉพาะตัว เกิดขึ้นกับเฉพาะคนคนนั้นไม่ซ้ำใครไม่มีใครเหมือน 2. การใคร่ครวญสะท้อนคิด (Critical Reflection) การคิดพิจารณาทบทวนอย่างมีวิจารณญาณลดละอคติทั้งทางบวกและทางลบ 3. การแลกเปลี่ยนอย่างมีเหตุผล (Rational Discourse) การสนทนาขยายความที่ก่อให้เกิดปัญญาในการมองสถานการณ์ๆ ต่างๆ อย่างไม่ตัดสินเลือกข้าง แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ถูกนำมาใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ตามแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกระตุ้นให้ในวัยผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆและเกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด-พฤติกรรม จากภายในตนเองซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีกไม่หยุดนิ่งหากเจ้าของประสบการณ์นั้นทำการใคร่ครวญและพิจารณาอย่างมีเหตุผลจะพบประตูสู่การเปลี่ยนแปลง นำพามาซึ่งวิธีคิดอื่นๆ พฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับตนเอง นับว่าเป็นภาวะการนำตนเอง (self-leadership) อย่างหนึ่ง
August 14, 2017

3 เทคนิคการแสดง เพื่อการฟังอย่างจริงใจ

ถ้าถามถึงคุณลักษณะของนักแสดงที่สำคัญ หลาย ๆ คนคงพูดถึงความกล้าแสดงออกเป็นอันดับต้น ๆ และความกล้าแสดงออกนั้น ก็น่าจะหมายถึงความกล้าที่จะสื่อสารผ่านทางคำพูดและการกระทำ อย่างไรก็ตามทักษะการสื่อสารที่สามารถพัฒนาผ่านการเรียนและฝึกฝนการแสดงได้อย่างชัดเจน แต่มักจะถูกมองข้ามไปคือทักษะการฟัง สาเหตุที่การฟังเป็นทักษะที่มักจะถูกมองว่าทุกคนสามารถทำได้ดีโดยไม่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนก็เพราะว่าหลายคนคิดว่ามันไม่ได้ต่างอะไรจาก “การได้ยิน” ในขณะที่ “การได้ยิน” ซึ่งหมายถึงการรับรู้ถึงเสียงและคำที่ผ่านเข้าหูเรา เป็นการกระทำที่แทบจะไม่ต้องใช้พลังงานหรือความพยายามอะไร “การฟัง” จำเป็นต้องใช้สมาธิและพลังงานทางสมองในกระบวนการตีความ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใส่ในบริบทต่าง ๆ
September 17, 2017

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer ปรีดา อัครจันทโชติ แม้ว่ารายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซั่นที่ 2 จะปิดฉากลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากซูโม่แล้ว แต่ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับหน้ากากบางประเด็นชวนให้ขบคิด หน้ากากนั้นโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สำหรับการป้องกันตัว หลอกลวง สร้างความบันเทิง หรือไม่ก็ใช้ประกอบพิธีกรรม หลักฐานที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีการใช้หน้ากากมาไม่ต่ำกว่า 9,000 ปีแล้ว หน้ากากในยุคแรกเริ่มถูกนำมาใช้สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ละภูมิภาคแต่ละวัฒนธรรมต่างใช้หน้ากากแตกต่างกันไป ในอียิปต์โบราณใช้หน้ากากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำมัมมี่ […]
July 14, 2019

In search of your identity: คิด ค้น หาตัวตน

พบกันปีละครั้ง สำหรับ “องค์ความรู้สกัดเข้มข้น” จากโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทนิเทศ (senior project) โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวาทนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สำหรับโครงการชุดแรกที่จะดำเนินการเผยแพร่ (project dissemination) ผ่านแพลตฟอร์มนี้ เกี่ยวข้องกับ “การค้นหาตัวตน” ที่นิสิตต่อยอดมาจากงานของรุ่นพี่ 49 สาขาวาทวิทยาที่ทิ้งคำถามไว้ว่า “จะตั้งคำถามถามตัวเองอย่างไรจึงจะได้ค้นพบตัวตน” ในปีนี้ นิสิตเสนอ 2 โครงการทั้งแบบคลาสสิคซึ่งอ่านตัวเองผ่านความคิด และโครงการที่เทรนดี้ (trendy) ซึ่งเลือกใช้ “การหาสไตล์” การแต่งกายในการค้นหาตัวตน