Articles

July 30, 2017

การวิจัยเชิงเอกสารด้านวาทวิทยา: กรณีศึกษางานวิจัยเรื่องวาทวิทยาในประวัติศาสตร์ไทย

จากทีได้เคยเกริ่นนำเบื้องต้นไปถึงเครื่องมือการวิจัยที่เรียกว่าการวิจัยเอกสาร ในฐานะวิธีการที่มีบทบาทในการศึกษาด้านวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาความหมายที่ปรากฏอยู่ของผลผลิตทางการสื่อสารต่างๆ รอบตัว หรือกระทั่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัยเชิงประวิติศาสตร์ให้เห็นถึงสถานการณ์แวดล้อมช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีตที่ไม่ใช่แค่เพียงดูว่ามีใครเขียนถึงเหตุการณ์ไหนในอดีตไว้ว่าอย่างไร ในคราวนี้จึงจะขอยกตัวอย่างการศึกษาวิจัยทางวาทวิทยาของรองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ผู้มีบทบาทในการศึกษาวาทวิทยาในประเทศไทยในฐานะที่ชี้นำให้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยกลวิธีและความคิดที่บุคคลใช้สื่อสารในสังคมโดยกระตุ้นให้วงการศึกษาตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ระหว่างผู้นำ ผู้ตาม อำนาจและการเมืองการปกครองและบริบทอื่นๆของผู้คนผ่านการสื่อสาร
August 7, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (1)

สื่อบันเทิงคดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบลายลักษณ์ เช่น วรรณคดี กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น ฯลฯ ล้วนจำต้องอาศัย “วัจนภาษา” เป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความคิดอันเป็นเป้าประสงค์ที่กวีปรารถนา ควบคู่ไปกับ “รสคำ” และ “รสความ” ที่จะช่วยเติมเต็มสีสันให้เกิดขึ้นแก่ผลผลิตนั้น ๆ แต่ละชนชาติย่อมมีข้อตกลง รูปแบบ หรือบรรทัดฐานของศิลปะการใช้ภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเฉพาะกลุ่มว่าด้วย “ความงดงาม” แตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์แต่ละบุคคลก็สามารถสัมผัสความงดงามนั้น ๆ ได้ไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับจริต ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้สัมผัสโดยตรง รวมไปถึงความประณีตของจิตใจที่ได้รับการขัดเกลามาอย่างเป็นระเบียบ
August 10, 2017

แนวการศึกษาวิจัยสื่อจินตคดีและสื่อสารการแสดงด้วยมุมมองเชิงสุนทรียนิเทศศาสตร์

จากที่ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างหนึ่ง ส่วนสำคัญคือการวิขัยเอกสารถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสวงหาคำตอบจากหลักฐานที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านนอกเหนือจากการสัมภาษณ์หรือการสนทนากลุ่มเพราะเอกสารในที่นี้มิได้หมายถึงแค่เพียงหนังสือหรือสิ่งพิมพ์เท่านั้นแต่กินความรวมถึงผลผลิตทางการสื่อสาร เช่น ผลงานที่ถ่ายทอดผ่านสื่อภาพ สื่อเสียง สื่อการแสดง บทสัมภาษณ์หรือถ้อยคำที่ปรากฏตามแหล่งต่าง ๆ ฯลฯ ที่แวดล้อมบุคคลอยู่ด้วย
August 14, 2017

3 เทคนิคการแสดง เพื่อการฟังอย่างจริงใจ

ถ้าถามถึงคุณลักษณะของนักแสดงที่สำคัญ หลาย ๆ คนคงพูดถึงความกล้าแสดงออกเป็นอันดับต้น ๆ และความกล้าแสดงออกนั้น ก็น่าจะหมายถึงความกล้าที่จะสื่อสารผ่านทางคำพูดและการกระทำ อย่างไรก็ตามทักษะการสื่อสารที่สามารถพัฒนาผ่านการเรียนและฝึกฝนการแสดงได้อย่างชัดเจน แต่มักจะถูกมองข้ามไปคือทักษะการฟัง สาเหตุที่การฟังเป็นทักษะที่มักจะถูกมองว่าทุกคนสามารถทำได้ดีโดยไม่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนก็เพราะว่าหลายคนคิดว่ามันไม่ได้ต่างอะไรจาก “การได้ยิน” ในขณะที่ “การได้ยิน” ซึ่งหมายถึงการรับรู้ถึงเสียงและคำที่ผ่านเข้าหูเรา เป็นการกระทำที่แทบจะไม่ต้องใช้พลังงานหรือความพยายามอะไร “การฟัง” จำเป็นต้องใช้สมาธิและพลังงานทางสมองในกระบวนการตีความ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใส่ในบริบทต่าง ๆ
August 17, 2017

ประเด็นการศึกษาวิจัยทางวาทนิเทศในองค์กรจากเวที ICA 2017

หายหน้าหายตากันไป 1 เดือนอันเนื่องมาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กรุณาให้โอกาส และสำคัญคือให้ทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อไปร่วมการประชุมวิชาการ International Communication Association [highlight background="" color="white"]1[/highlight] (ICA) ครั้งที่ 67 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2560ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม กลับมาครั้งนี้ก็จะใช้พื้นที่และโอกาสที่จะแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการวิจัยใหม่ ๆ เรียกว่ารอบนี้มาเป็นงานเขียนฉบับค่อนข้างยาวเพื่อเป็นสร้างประกาย (จะเรียกว่า “ขายหัวข้อ” ก็ว่าได้) ให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อยอดต่อไป
September 17, 2017

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer ปรีดา อัครจันทโชติ แม้ว่ารายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซั่นที่ 2 จะปิดฉากลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากซูโม่แล้ว แต่ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับหน้ากากบางประเด็นชวนให้ขบคิด หน้ากากนั้นโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สำหรับการป้องกันตัว หลอกลวง สร้างความบันเทิง หรือไม่ก็ใช้ประกอบพิธีกรรม หลักฐานที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีการใช้หน้ากากมาไม่ต่ำกว่า 9,000 ปีแล้ว หน้ากากในยุคแรกเริ่มถูกนำมาใช้สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ละภูมิภาคแต่ละวัฒนธรรมต่างใช้หน้ากากแตกต่างกันไป ในอียิปต์โบราณใช้หน้ากากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำมัมมี่ […]
September 17, 2017

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร บุคลิกภาพ (Personality) ภาพลักษณ์ (Image) เป็นแนวคิดที่ได้รับการศึกษาและยอมรับกันมายาวนานว่ามีบทบาทสำคัญและสัมพันธ์กับความสามารถในการสื่อสารของบุคคล ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมปัจจุบัน ทั้งในวงวิชาการและวงวิชาชีพที่มองเรื่องบุคลิกภาพและภาพลักษณ์คือสิ่งเหล่านี้มีคุณสมบัติส่งเสริมให้เกิดการรับรู้จากสังคมแวดล้อมและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญให้แก่บุคคลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการมีรับรู้เชิงคุณค่ากับตัวเจ้าของบุคลิกภาพหรือเจ้าของภาพลักษณ์นั้นแต่เพียงลำพัง นั่นหมายความว่า บุคลิกภาพหรือภาพลักษณ์ ได้สื่อสารตัวตนของเจ้าของทั้งในระดับที่ตนเองรู้ตัวและในระดับที่สาธารณะรับรู้ เราจะพบว่า สถาบันฝึกอบรมหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างๆล้วนมีหลักสูตรที่ว่าด้วยการพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ แต่ทั้ง 2 สิ่งนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งครอบคลุมต่างกัน บุคลิกภาพ (Personality) นั้นมีผู้ให้ความหมายไว้กว้างขว้าง ทั้งนี้ผู้เขียนอาจสรุปได้ว่าบุคลิกภาพหมายถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะที่เกิดจากส่งต่อทางพันธุกรรม เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผิว […]
September 17, 2017

พึงใช้ “ไลน์” ให้เวิร์คเถิด…จะเกิดผล

พึงใช้ “ไลน์” ให้เวิร์คเถิด…จะเกิดผล ปภัสสรา ชัยวงศ์ 0.0 อะไรอะไรก็ไลน์ “เด็กสมัยนี้ชอบส่งข้อความ บางทีก็ลืมไปว่าถ้าด่วนนี่ควรโทรมาดีกว่ามั้ย” “น่าสนใจมาก บางทีเราโทรไป น้องเค้าไม่รับสาย แต่พอส่งข้อความตามไป ปรากฏว่าอ่านทันที” “พี่เค้าก็ชอบส่งสติ๊กเกอร์สวัสดีวันจันทร์…เน้นส่งสติ๊กเกอร์ แต่ก็ไม่เห็นพิมพ์อะไร… คงจะพยายามสร้างสัมพันธ์กับเรา” “เราสร้างกรุ๊ปไลน์ในการทำงานร่วมกัน เราก็มักจะพิมพ์ข้อความยาวๆ เพื่อให้น้องเค้าอ่านเข้าใจในคราวเดียว แต่เวลาน้องๆ ตอบนี่ก็จะงงสักหน่อย เพราะจะตอบสั้นๆ และตอบเร็วมาก เสียงเตือนดังต่อๆ กันเลย […]
September 18, 2017

โยคะสำหรับ Public Speaking

โยคะสำหรับ Public Speaking กฤษณะ พันธุ์เพ็ง คืนก่อนหน้าที่จะต้องพูดต่อหน้าสาธารณะ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับงานวิจัย บรรยายในหัวข้อต่างๆ หรือเป็นการสอนกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน มักจะเป็นคืนที่นอนหลับยากที่สุดของผู้เขียน ซึ่งหลายๆ คนก็คงจะเคยประสบกับปัญหาเดียวกัน สิ่งที่รบกวนจิตใจจนเป็นอุปสรรคที่ทำให้นอนไม่หลับนั้นก็คือความกลัวว่าเหตุการณ์แย่ๆต่างๆ จะเกิดขึ้นมาเมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดจริงๆ เช่นการลืมเนื้อหาที่จะพูด คอมพิวเตอร์ขัดข้อง ผู้ฟังไม่สนใจฟัง หรือซับซ้อนมากกว่านั้นก็คือกลัวและกังวลว่าตอนพูดจะตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง หรือกลัวว่าจะตื่นสาย ซึ่งความกลัวและกังวลนี้อาจจะมีข้อดีที่ช่วยให้เราได้เตรียมความพร้อมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลและตื่นเต้นมากขึ้นไปอีกขั้น จนเป็นความกังวลว่าจะนอนไม่หลับและตื่นสายจนเพลียและตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ทำให้นอนไม่หลับจริงๆ (และนำไปสู่ความกังวลจริงๆเมื่อถึงเวลาพูด) ในหนังสือชื่อ Why […]