July-September 2019

กรกฎาคม-กันยายน 2562

August 19, 2019

Lift Up Your Wings กับการพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพการคิด การพูด และการนำเสนอตนเอง ในการสัมภาษณ์งานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

ยังคงว่าด้วยการนำเสนอองค์ความรู้สกัดเข้มข้นจากโครงการปริญญานิพนธ์สาขาวาทวิทยา โครงการชุดที่ 2 ที่จะดำเนินการเผยแพร่ ผ่านแพลตฟอร์มนี้ เกี่ยวข้องกับ “การพัฒนาบุคลิกภาพ” และ “การพัฒนาศักยภาพการคิด การพูด และการแสดงออก” ในบริบทต่าง ๆ เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยม และเป็นความฝันของหนุ่มสาวหลายคนมาตลอดยุคสมัย คือการเป็น “พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน”
July 14, 2019

In search of your identity: คิด ค้น หาตัวตน

พบกันปีละครั้ง สำหรับ “องค์ความรู้สกัดเข้มข้น” จากโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทนิเทศ (senior project) โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวาทนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สำหรับโครงการชุดแรกที่จะดำเนินการเผยแพร่ (project dissemination) ผ่านแพลตฟอร์มนี้ เกี่ยวข้องกับ “การค้นหาตัวตน” ที่นิสิตต่อยอดมาจากงานของรุ่นพี่ 49 สาขาวาทวิทยาที่ทิ้งคำถามไว้ว่า “จะตั้งคำถามถามตัวเองอย่างไรจึงจะได้ค้นพบตัวตน” ในปีนี้ นิสิตเสนอ 2 โครงการทั้งแบบคลาสสิคซึ่งอ่านตัวเองผ่านความคิด และโครงการที่เทรนดี้ (trendy) ซึ่งเลือกใช้ “การหาสไตล์” การแต่งกายในการค้นหาตัวตน
 

June-August 2018

มิถุนายน-สิงหาคม 2561

August 8, 2018

Virtual Team Building: ทีมเสมือนจริง…สร้างได้ด้วยตัวคุณ

Speech Communication Network ได้นำเสนอสรุปโครงการปริญญานิพนธ์ไปแล้ว 2 เรื่อง คือ The INTERN: กลยุทธ์การสร้างความประทับใจในที่ฝึกงาน และ “BOUNDARY: การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อปกป้องสิทธิด้านร่างกาย” ในครั้งนี้ นิสิตเกียรติยศ กิระวงศ์เกษม จะนำเสนอสรุปโครงการ “VIRTUAL TEAM BUILDING: ทีมเสมือนจริง...สร้างได้ด้วยตัวคุณ” ซึ่งเป็นประเด็นการศึกษาที่น่าสนใจมากในยุค Internet of Things ที่อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีการสื่อสารเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกด้าน รวมถึงการทำงานในองค์กรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
July 1, 2018

Boundary: การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อปกป้องสิทธิด้านร่างกาย

ในรอบที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ Speech Communication Network ได้นำเสนอสรุปโครงการปริญญานิพนธ์ The INTERN: กลยุทธ์การสร้างความประทับใจในที่ฝึกงาน ซึ่งได้รับผลป้อนกลับเป็นอย่างดีจากแฟนๆ มาในครั้งนี้ นิสิตพลอย ศิริอุดมเศรษฐ จะนำเสนอสรุปโครงการ “BOUNDARY: การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อปกป้องสิทธิด้านร่างกาย” ซึ่งถือเป็นประเด็นความสนใจโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับ “ขอบเขต” ของร่างกาย และได้รับผลกระทบจากการถูก “ล่วงละเมิด” รังแก แทะโลม ลวนลาม ทั้งด้วยวาจา สายตา กิริยา และพฤติกรรม คำถามสำคัญที่จะช่วยปกป้องกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้ คือ “ขอบเขต” ร่างกายของฉันและของผู้อื่นเป็นอย่างไร?
June 15, 2018

The Intern: กลยุทธ์การสร้างความประทับใจในที่ฝึกงาน

เวียนกลับมาอีกครั้ง สำหรับโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทนิเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่า senior project ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวาทนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ (สนับสนุนทุนดำเนินงานโดยคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังที่เคยเป็นมาเสมอ) วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินโครงการ คือ การเปิดพื้นที่การเรียนรู้แบบ Action Research เพื่อให้นิสิตนำความรู้ทางวาทนิเทศและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาประยุกต์ใช้ เรียนรู้กระบวนการการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพและครบวงจร มีความสมจริงสมจังเพื่อจะพร้อมเข้าสู่การทำงานและการบริหารโครงการในอนาคต และจะได้เผยแพร่ต่อผู้สนใจทางเว็บไซต์ของทางภาควิชาฯ ตามรอยของรุ่นพี่นิเทศ จุฬาฯ 49
 

November-December 2017

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560

December 22, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (3)

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (3) ธนสิน ชุตินธรานนท์ ภาพพจน์วาทศิลป์ เป็นศิลปะการใช้ภาษาเพื่อมุ่งส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพทางการสื่อสาร ในสื่อ  บันเทิงคดีไทยการสร้างอารมณ์ความรู้สึกแก่ผู้รับสารนับเป็นเป้าประสงค์สำคัญที่ผู้ส่งสารต้องคัดสรร และ  ออกแบบสารให้สัมฤทธิผลที่มุ่งหวังบังเกิดขึ้น วัจนสารนับเป็นสิ่งที่สื่อบันเทิงคดีส่วนใหญ่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นภาพพจน์วาทศิลป์อันหลากหลายจึงได้รับการหยิบยกมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบสาร ซึ่ง  ภาพพจน์ต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ได้เป็นข้อกำหนดตายตัว หรือเป็นสมบัติของผู้ใดผู้หนึ่ง หากแต่เป็นสมบัติร่วม  ของผู้สร้างสรรค์ที่จะนำมาใช้ในสารของตน ทั้งนี้ผู้ส่งสารที่มีความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อข้อจำกัดในการเลือกสรรกลวิธีต่าง ๆ มาใช้ในงานของตน โวหารเล่นคำหลากความ […]
December 21, 2017

ภาษากับเด็กเล็ก (กรณีศึกษาเฉพาะบ้าน)

ภาษากับเด็กเล็ก (กรณีศึกษาเฉพาะบ้าน) ประภัสสร จันทร์สถิตพร ภาษากำหนดโลกการรับรู้ การรับรู้กำหนดทัศนคติและพฤติกรรม อยากให้ลูกของเราเป็นเช่นไร การใช้ภาษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในยุคที่เด็กๆ ได้รับโอกาสให้เรียนสองภาษาบ้าง สามภาษาบ้างตั้งแต่ยังตัวน้อยๆ หรือจะเรียกได้ว่าบางคนยังพูดไม่เป็นภาษาก็ได้รับการฝึกหัดภาษาต่างชาติทั้งอังกฤษ จีน กันแล้วเป็นต้น นับได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการสื่อสารของเด็กยุคนี้และต่อไปในอนาคตที่เค้าจะก้าวเร็วไปกว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่ต้องนับถึงรุ่นปูย่าตายาย ซึ่งนั่นก็ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ดีในบริบทที่โลกปัจจุบันการสื่อสารระหว่างกันของผู้คนหลายชาติมากมายเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากขนาดนี้ อาจต้องยอมรับว่าประเด็นหนึ่งที่อาจจะถูกลดทอนความสำคัญไปบ้างก็คือ แก่นสาระหลักของการเรียนรู้เรื่องการใช้ภาษาของเด็กๆ รวมกระทั่งถึงผู้ใหญ่อย่างเราในทุกวันนี้ก็คือ ภาษานั้นมีหน้าที่กำหนดความหมายและอาจกำหนดความจริงที่เรารับรู้จากสิ่งรอบตัว เราเรียกต้นไม้ว่าต้นไม้โดยไม่เคยตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงเรียกว่าต้นไม้ เราได้รับการตั้งชื่อพร้อมกับให้ความหมายของชื่อนั้นโดยพ่อแม่ปู่ย่าหรือคนที่รักเราโดยที่บางครั้งเราไม่ได้เป็นผู้เลือก แต่ความหมายของสิ่งต่างๆ นั้นมีอิทธิพลต่อเรามากตั้งแต่เล็กจนโตหรือกระทั่งจนตาย ลองพิจารณาประโยคเหล่านี้ไปร่วมกันนะคะ บีเจเสียใจได้แต่ไม่ต้องร้องไห้แล้วนะ […]
December 20, 2017

คุยกับหมา หมาเลียปาก: ประโยชน์ของการสื่อสารกับสุนัขของคุณ

คุยกับหมา หมาเลียปาก: ประโยชน์ของการสื่อสารกับสุนัขของคุณ กฤษณะ พันธุ์เพ็ง ความจริงที่เราต้องยอมรับก็คือ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว เรามองสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วยมุมมองแคบๆ ของความเป็นมนุษย์ เราพยายามมองหาลักษณะของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับเรา เราตื่นตาตื่นใจกับการที่มีใบหน้าคนปรากฏบนต้นไม้ สุนัขยืนสองขา นกพูดภาษาคนได้ หรือแมวที่นั่งไขว่ห้างอยู่ข้างถนน เราเพียรพยายามที่จะสอนทักษะมนุษย์ให้กับสัตว์เลี้ยง พร้อมทั้งชื่นชมมันเมื่อมันทำได้ และลงโทษมันเมื่อมันไม่เข้าใจเรา Anthropomorphism คือการที่เรามอบลักษณะความเป็นมนุษย์ให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือสิ่งของที่ไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในนิทาน นิยายและภาพยนตร์แฟนตาซี สำหรับคนที่มีสัตว์เลี้ยง anthropomorphism […]
 

September-October 2017

กันยายน-ตุลาคม 2560

September 19, 2017

การสื่อสารภายในตนเอง กับการเดินทางขึ้นสู่ปล่องภูเขาไฟฟูจิ

การสื่อสารภายในตนเอง กับการเดินทางขึ้นสู่ปล่องภูเขาไฟฟูจิ ปอรรัชม์ ยอดเณร เมื่อวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยมีเป้าหมายเพื่อไปปีนพิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสขึ้นไปเฉพาะในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี แล้วแต่ช่วงจังหวะและสภาพอากาศซึ่งต้องคอยติดตามข่าวสารกันเป็นระยะ การเดินทางในครั้งนี้ผู้เขียนได้วางแผนกันตั้งแต่ต้นปีเมื่อรู้ตารางเวลาวันหยุดยาวในประเทศไทยและจัดสรรเวลาที่จะสามารถไปได้ทันในช่วงที่เปิดให้ขึ้นเขาได้ ซึ่งตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาในเดือนกรกฎาคมพอดี แต่กว่าจะสามารถจองที่พักและการเดินทางสู่ยอดเขาได้ก็ต้องรอเวลาถึงเดือนเมษายนจึงจะสามารถยืนยันการเดินทางและที่พักบนยอดเขาได้ ซึ่งอาศัยน้องๆ ที่รู้จักที่ญี่ปุ่นคอยช่วยส่งข้อมูลและเป็นผู้จองทัวร์การเดินทาง อันเนื่องจากบริษัททัวร์ในเมืองไทยก็มีไม่กี่เจ้าที่จะเปิดขายทัวร์นี้และก็มีราคาสูงมาก จึงต้องจองจากทางญี่ปุ่น และการจองก็มีทั้งแบบการเดินทางไปพร้อมกับหัวหน้าทัวร์โดยจะขึ้นเป็นชุดๆ ไปพร้อมกัน หรือจะเลือกเดินทางขึ้นเขาเองแล้วนัดหมายขึ้นรถบัสไปกลับพร้อมกัน หรือจะเลือกแบบแบคแพคเกอร์ทำเองทุกอย่างเลยก็ได้ แต่จากการศึกษาและการปรึกษาสมาชิกภายในกลุ่มจึงได้คำตอบว่าเราเลือกทางที่มีบริษัททัวร์พาไปแต่ไม่ต้องนำทาง เพราะเส้นทางขึ้นเขามีทางเดียว หมายถึงถ้าเราเลือก […]
September 18, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (2)

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (2) ธนสิน ชุตินธรานนท์ บทความที่แล้วได้กล่าวถึงภาพพจน์วาทศิลป์ประเภท “สมมุติภาวะ” ซึ่งเป็นภาพพจน์ประเภทแรกที่พบได้บ่อยครั้งในสื่อบันเทิงคดีไทย ซึ่งช่วยส่งเสริมจินตภาพ และอารมณ์สะเทือนใจให้แก่ผู้รับสารอย่างแยบคาย ในบทความนี้จะขอนำเสนอภาพพจน์วาทศิลป์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นศิลปะการเรียงร้อยถ้อยคำเพื่อการสื่อสารให้บังเกิดผลตามที่ผู้ส่งสารปรารถนาอย่างละเมียดละไม และสร้างชั้นเชิงทางการสื่อสาร กล่าวคือ การใช้ “โวหารย้อนคำ” โวหารย้อนคำ คือ รูปแบบการใช้ประโยคคู่ขนาน โดยกวี หรือผู้ส่งสารได้เรียบเรียงความคิดอย่างเป็นระบบ และประดิษฐ์นำเสนอข้อความโดยการสลับที่ถ้อยคำในชุดเดียวกัน ซึ่งในกรณีของร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์สามารถปรากฏทั้งในวรรคเดียวกัน บาทเดียวกัน หรือบทเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำสารัตถะอย่างมีเอกภาพ และสร้างความสละสลวยคมคายให้แก่สาระที่นำเสนอ […]
September 18, 2017

โยคะสำหรับ Public Speaking

โยคะสำหรับ Public Speaking กฤษณะ พันธุ์เพ็ง คืนก่อนหน้าที่จะต้องพูดต่อหน้าสาธารณะ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับงานวิจัย บรรยายในหัวข้อต่างๆ หรือเป็นการสอนกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน มักจะเป็นคืนที่นอนหลับยากที่สุดของผู้เขียน ซึ่งหลายๆ คนก็คงจะเคยประสบกับปัญหาเดียวกัน สิ่งที่รบกวนจิตใจจนเป็นอุปสรรคที่ทำให้นอนไม่หลับนั้นก็คือความกลัวว่าเหตุการณ์แย่ๆต่างๆ จะเกิดขึ้นมาเมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดจริงๆ เช่นการลืมเนื้อหาที่จะพูด คอมพิวเตอร์ขัดข้อง ผู้ฟังไม่สนใจฟัง หรือซับซ้อนมากกว่านั้นก็คือกลัวและกังวลว่าตอนพูดจะตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง หรือกลัวว่าจะตื่นสาย ซึ่งความกลัวและกังวลนี้อาจจะมีข้อดีที่ช่วยให้เราได้เตรียมความพร้อมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลและตื่นเต้นมากขึ้นไปอีกขั้น จนเป็นความกังวลว่าจะนอนไม่หลับและตื่นสายจนเพลียและตื่นเต้นจนพูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ทำให้นอนไม่หลับจริงๆ (และนำไปสู่ความกังวลจริงๆเมื่อถึงเวลาพูด) ในหนังสือชื่อ Why […]
September 17, 2017

พึงใช้ “ไลน์” ให้เวิร์คเถิด…จะเกิดผล

พึงใช้ “ไลน์” ให้เวิร์คเถิด…จะเกิดผล ปภัสสรา ชัยวงศ์ 0.0 อะไรอะไรก็ไลน์ “เด็กสมัยนี้ชอบส่งข้อความ บางทีก็ลืมไปว่าถ้าด่วนนี่ควรโทรมาดีกว่ามั้ย” “น่าสนใจมาก บางทีเราโทรไป น้องเค้าไม่รับสาย แต่พอส่งข้อความตามไป ปรากฏว่าอ่านทันที” “พี่เค้าก็ชอบส่งสติ๊กเกอร์สวัสดีวันจันทร์…เน้นส่งสติ๊กเกอร์ แต่ก็ไม่เห็นพิมพ์อะไร… คงจะพยายามสร้างสัมพันธ์กับเรา” “เราสร้างกรุ๊ปไลน์ในการทำงานร่วมกัน เราก็มักจะพิมพ์ข้อความยาวๆ เพื่อให้น้องเค้าอ่านเข้าใจในคราวเดียว แต่เวลาน้องๆ ตอบนี่ก็จะงงสักหน่อย เพราะจะตอบสั้นๆ และตอบเร็วมาก เสียงเตือนดังต่อๆ กันเลย […]
September 17, 2017

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร

สื่อสารการแสดงกับบุคลิกภาพการสื่อสาร ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร บุคลิกภาพ (Personality) ภาพลักษณ์ (Image) เป็นแนวคิดที่ได้รับการศึกษาและยอมรับกันมายาวนานว่ามีบทบาทสำคัญและสัมพันธ์กับความสามารถในการสื่อสารของบุคคล ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมปัจจุบัน ทั้งในวงวิชาการและวงวิชาชีพที่มองเรื่องบุคลิกภาพและภาพลักษณ์คือสิ่งเหล่านี้มีคุณสมบัติส่งเสริมให้เกิดการรับรู้จากสังคมแวดล้อมและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญให้แก่บุคคลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการมีรับรู้เชิงคุณค่ากับตัวเจ้าของบุคลิกภาพหรือเจ้าของภาพลักษณ์นั้นแต่เพียงลำพัง นั่นหมายความว่า บุคลิกภาพหรือภาพลักษณ์ ได้สื่อสารตัวตนของเจ้าของทั้งในระดับที่ตนเองรู้ตัวและในระดับที่สาธารณะรับรู้ เราจะพบว่า สถาบันฝึกอบรมหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างๆล้วนมีหลักสูตรที่ว่าด้วยการพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ แต่ทั้ง 2 สิ่งนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งครอบคลุมต่างกัน บุคลิกภาพ (Personality) นั้นมีผู้ให้ความหมายไว้กว้างขว้าง ทั้งนี้ผู้เขียนอาจสรุปได้ว่าบุคลิกภาพหมายถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะที่เกิดจากส่งต่อทางพันธุกรรม เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผิว […]
September 17, 2017

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer

อัตลักษณ์กับความหมายภายใต้หน้ากาก: ควันหลงจากรายการ The Mask Singer ปรีดา อัครจันทโชติ แม้ว่ารายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซั่นที่ 2 จะปิดฉากลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากซูโม่แล้ว แต่ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับหน้ากากบางประเด็นชวนให้ขบคิด หน้ากากนั้นโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สำหรับการป้องกันตัว หลอกลวง สร้างความบันเทิง หรือไม่ก็ใช้ประกอบพิธีกรรม หลักฐานที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีการใช้หน้ากากมาไม่ต่ำกว่า 9,000 ปีแล้ว หน้ากากในยุคแรกเริ่มถูกนำมาใช้สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ละภูมิภาคแต่ละวัฒนธรรมต่างใช้หน้ากากแตกต่างกันไป ในอียิปต์โบราณใช้หน้ากากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำมัมมี่ […]
 

July-August 2017

กรกฎาคม-สิงหาคม 2560

August 17, 2017

ประเด็นการศึกษาวิจัยทางวาทนิเทศในองค์กรจากเวที ICA 2017

หายหน้าหายตากันไป 1 เดือนอันเนื่องมาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กรุณาให้โอกาส และสำคัญคือให้ทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อไปร่วมการประชุมวิชาการ International Communication Association [highlight background="" color="white"]1[/highlight] (ICA) ครั้งที่ 67 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2560ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม กลับมาครั้งนี้ก็จะใช้พื้นที่และโอกาสที่จะแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการวิจัยใหม่ ๆ เรียกว่ารอบนี้มาเป็นงานเขียนฉบับค่อนข้างยาวเพื่อเป็นสร้างประกาย (จะเรียกว่า “ขายหัวข้อ” ก็ว่าได้) ให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อยอดต่อไป
August 14, 2017

3 เทคนิคการแสดง เพื่อการฟังอย่างจริงใจ

ถ้าถามถึงคุณลักษณะของนักแสดงที่สำคัญ หลาย ๆ คนคงพูดถึงความกล้าแสดงออกเป็นอันดับต้น ๆ และความกล้าแสดงออกนั้น ก็น่าจะหมายถึงความกล้าที่จะสื่อสารผ่านทางคำพูดและการกระทำ อย่างไรก็ตามทักษะการสื่อสารที่สามารถพัฒนาผ่านการเรียนและฝึกฝนการแสดงได้อย่างชัดเจน แต่มักจะถูกมองข้ามไปคือทักษะการฟัง สาเหตุที่การฟังเป็นทักษะที่มักจะถูกมองว่าทุกคนสามารถทำได้ดีโดยไม่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนก็เพราะว่าหลายคนคิดว่ามันไม่ได้ต่างอะไรจาก “การได้ยิน” ในขณะที่ “การได้ยิน” ซึ่งหมายถึงการรับรู้ถึงเสียงและคำที่ผ่านเข้าหูเรา เป็นการกระทำที่แทบจะไม่ต้องใช้พลังงานหรือความพยายามอะไร “การฟัง” จำเป็นต้องใช้สมาธิและพลังงานทางสมองในกระบวนการตีความ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใส่ในบริบทต่าง ๆ
August 10, 2017

แนวการศึกษาวิจัยสื่อจินตคดีและสื่อสารการแสดงด้วยมุมมองเชิงสุนทรียนิเทศศาสตร์

จากที่ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างหนึ่ง ส่วนสำคัญคือการวิขัยเอกสารถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสวงหาคำตอบจากหลักฐานที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านนอกเหนือจากการสัมภาษณ์หรือการสนทนากลุ่มเพราะเอกสารในที่นี้มิได้หมายถึงแค่เพียงหนังสือหรือสิ่งพิมพ์เท่านั้นแต่กินความรวมถึงผลผลิตทางการสื่อสาร เช่น ผลงานที่ถ่ายทอดผ่านสื่อภาพ สื่อเสียง สื่อการแสดง บทสัมภาษณ์หรือถ้อยคำที่ปรากฏตามแหล่งต่าง ๆ ฯลฯ ที่แวดล้อมบุคคลอยู่ด้วย
August 7, 2017

ภาพพจน์วาทศิลป์กับการสร้างสรรค์บันเทิงคดีไทย (1)

สื่อบันเทิงคดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบลายลักษณ์ เช่น วรรณคดี กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น ฯลฯ ล้วนจำต้องอาศัย “วัจนภาษา” เป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความคิดอันเป็นเป้าประสงค์ที่กวีปรารถนา ควบคู่ไปกับ “รสคำ” และ “รสความ” ที่จะช่วยเติมเต็มสีสันให้เกิดขึ้นแก่ผลผลิตนั้น ๆ แต่ละชนชาติย่อมมีข้อตกลง รูปแบบ หรือบรรทัดฐานของศิลปะการใช้ภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเฉพาะกลุ่มว่าด้วย “ความงดงาม” แตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์แต่ละบุคคลก็สามารถสัมผัสความงดงามนั้น ๆ ได้ไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับจริต ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้สัมผัสโดยตรง รวมไปถึงความประณีตของจิตใจที่ได้รับการขัดเกลามาอย่างเป็นระเบียบ
July 30, 2017

การวิจัยเชิงเอกสารด้านวาทวิทยา: กรณีศึกษางานวิจัยเรื่องวาทวิทยาในประวัติศาสตร์ไทย

จากทีได้เคยเกริ่นนำเบื้องต้นไปถึงเครื่องมือการวิจัยที่เรียกว่าการวิจัยเอกสาร ในฐานะวิธีการที่มีบทบาทในการศึกษาด้านวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาความหมายที่ปรากฏอยู่ของผลผลิตทางการสื่อสารต่างๆ รอบตัว หรือกระทั่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัยเชิงประวิติศาสตร์ให้เห็นถึงสถานการณ์แวดล้อมช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีตที่ไม่ใช่แค่เพียงดูว่ามีใครเขียนถึงเหตุการณ์ไหนในอดีตไว้ว่าอย่างไร ในคราวนี้จึงจะขอยกตัวอย่างการศึกษาวิจัยทางวาทวิทยาของรองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ผู้มีบทบาทในการศึกษาวาทวิทยาในประเทศไทยในฐานะที่ชี้นำให้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยกลวิธีและความคิดที่บุคคลใช้สื่อสารในสังคมโดยกระตุ้นให้วงการศึกษาตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ระหว่างผู้นำ ผู้ตาม อำนาจและการเมืองการปกครองและบริบทอื่นๆของผู้คนผ่านการสื่อสาร
July 30, 2017

นักแสดง กับการพัฒนาทักษะทางด้านจินตนาการ (2)

ฟิลลิป ซาริลลี (Phillip Zarrilli) นักการละครร่วมสมัย ได้พัฒนาทฤษฎีและรูปแบบการฝึกฝนนักแสดงขึ้นมาอย่างเป็นระบบในแบบที่เรียกว่า Psychophysical Actor Training โดยดึงเอาหลักการฝึกฝนนักแสดงมาจากหลากหลายศิลปะป้องกันตัวและการฝึกพัฒนาสติของเอเชีย Psychophysical actor training ในแบบของซาริลลีเป็นการฝึกฝนระยะยาว โดยเน้นการฝึกฝนท่าทางซ้ำๆ ทุกๆ วัน เพื่อให้เกิดสภาวะที่เขาเรียกว่า “Acting as an embodied phenomenon and process” ซึ่งก็คือการที่สภาวะภายในกับภายนอกของนักแสดงมีการสื่อสารสัมพันธ์กันในกระบวนการรับรู้ รู้สึก จดจำ ปรับให้เข้ากัน และจินตนาการ ซึ่งเป้าหมายทางการแสดงของซาริลลี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การแสดงแบบใดแบบหนึ่ง เพราะเขาให้ความสำคัญกับพลังงานในตัวของนักแสดงในขณะแสดงมากกว่า หลักการของเขาจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นๆ ที่หลากหลายได้
July 29, 2017

สาระฉบับคัดสรรจากโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทนิเทศ ปีการศึกษา 2559

ภารกิจสุดท้ายของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวาทวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ คือการจัดทำโครงการปริญญานิพนธ์ทางวาทวิทยา หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า senior project วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินโครงการ คือ เพื่อให้นิสิตนำความรู้ทางวาทวิทยา (หรือเรียกอีกอย่างว่าวาทนิเทศ) และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาประยุกต์ใช้ เรียนรู้กระบวนการการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพและครบวงจรเพื่อจะพร้อมเข้าสู่การทำงานและการบริหารโครงการในอนาคต เรียกว่าเป็นการทำ Action Research ย่อยๆ เพื่อให้สามารถประยุกต์องค์ความรู้เข้ากับการนำไปใช้จริงได้อย่างสมจริงสมจัง และจะได้เผยแพร่ต่อผู้สนใจทางเว็บไซต์นี้
 

May-June 2017

พฤษภาคม-มิถุนายน 2560

June 4, 2017

การวิจัยเอกสารในฐานะเครื่องมือการศึกษาเชิงวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง

การวิจัยเอกสาร หรือ การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) เป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัย นักวิชาการหรือผู้ที่มีความสนใจแสวงหาคำตอบทางสังคมศาสตร์หรือมานุษยวิทยาสังคมวิทยามักเลือกใช้เมื่อปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาวิจัยนั้นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือหลักฐานที่เป็น “บุคคลผู้รู้” ที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือแสดงออกซึ่งพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การอธิบายข้อสงสัยต่างๆได้ หรือกระทั่งแม้หากในการศึกษาแต่ละครั้งนั้นหากผู้ศึกษาวิจัยมีความต้องการตรวจสอบหรือแสวงหาคำอธิบายให้รอบด้านเกี่ยวกับโจทย์วิจัยของตนก็อาจจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารต่างๆที่แวดล้อม “บุคคลผู้รู้” เหล่านั้นพร้อมกันไปเพื่อให้มุมมองในการแสวงหาความรู้ในการศึกษานั้นๆครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
June 4, 2017

ภาวะผู้นำ กับการสื่อสารภายในตนเอง สู่การเปลี่ยนแปลง

มนุษย์มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเอง การเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มจากภายในบุคคล บุคคลใดที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงย่อมนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ตนเองเป็นอันดับแรก และการเคลื่อนเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยจากบุคคลคนหนึ่งนั้นย่อมส่งผลกระทบถึงบุคคลอื่นๆรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัว จากการศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง Transformative Learning ของ Jack D. Mezirow พบว่า มีองค์ประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลงอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. ประสบการณ์ (Experience) อันเป็นของเฉพาะตัว เกิดขึ้นกับเฉพาะคนคนนั้นไม่ซ้ำใครไม่มีใครเหมือน 2. การใคร่ครวญสะท้อนคิด (Critical Reflection) การคิดพิจารณาทบทวนอย่างมีวิจารณญาณลดละอคติทั้งทางบวกและทางลบ 3. การแลกเปลี่ยนอย่างมีเหตุผล (Rational Discourse) การสนทนาขยายความที่ก่อให้เกิดปัญญาในการมองสถานการณ์ๆ ต่างๆ อย่างไม่ตัดสินเลือกข้าง แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ถูกนำมาใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ตามแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกระตุ้นให้ในวัยผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆและเกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด-พฤติกรรม จากภายในตนเองซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีกไม่หยุดนิ่งหากเจ้าของประสบการณ์นั้นทำการใคร่ครวญและพิจารณาอย่างมีเหตุผลจะพบประตูสู่การเปลี่ยนแปลง นำพามาซึ่งวิธีคิดอื่นๆ พฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับตนเอง นับว่าเป็นภาวะการนำตนเอง (self-leadership) อย่างหนึ่ง
May 13, 2017

The Mask Singer: ปรากฎการณ์อยากรู้ อยากเห็น และอยากมีส่วนร่วมของสังคมไทย

ความสำเร็จของรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ที่ได้รับความนิยมอย่างมหาศาล จนถึงกับผู้ผลิตอย่างบริษัทเวิร์คพอยต์ต้องผลิตรายการซีซั่น 2 ทันทีที่การแข่งขันจบลงพร้อมกับชัยชนะของหน้ากากทุเรียน นอกจากได้ฟังเพลงไปพร้อมกับการคาดเดาผู้อยู่ภายใต้หน้ากาก สนุกไปกับความยียวนของผู้เข้าแข่งขัน และการปล่อยมุกของคณะกรรมการแล้ว รายการนี้ยังได้บอกอัตลักษณ์และพฤติกรรมการสื่อสารของคนไทยอีกไม่น้อย แม้จะจัดเป็นรูปแบบการประกวดร้องเพลง ซึ่งพบเห็นดาษดื่นบนจอโทรทัศน์ในปัจจุบัน หากแต่ “การแข่งขัน” ที่ดำรงอยู่ในรายการไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแข่งขันระหว่างผู้เข้าแข่งขันอย่างที่ปรากฏในรายการประกวดร้องเพลงอื่นๆ
May 13, 2017

แนวโน้มการศึกษาวาทวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์

ในงาน CU Expo 2017 ภายใต้ธีม “จุฬาฯ 100 ปี: นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ทางภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนิสิตเก่ารุ่นต่างๆ ของภาควิชาฯ ก็ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ “นวัตกรรม คิด ทำ เพื่อสังคม” ผ่าน 14+ หลักสูตรทางวาทนิเทศและสื่อสารการแสดง (รับชมภาพบรรยากาศได้ทางเฟซบุ๊ก Speech Communication Network) ที่ผู้ร่วมการฝึกอบรมต่างพร้อมใจกันให้คอมเม้นท์ว่า “ดีและฟรี...มีในโลก” เพื่อบริการประชาชนและตอบแทนพระคุณของแหล่งเรียนมา
May 13, 2017

นักแสดง กับการพัฒนาทักษะทางด้านจินตนาการ (1)

จินตนาการ เป็นกิจกรรมสำคัญของสมองที่มนุษย์ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ นักปรัชญาหลายคนตั้งแต่เพลโต (Plato) เป็นต้นมาได้ยกให้จินตนาการเป็น 1 ใน 4 ความสามารถที่สำคัญของจิตมนุษย์ นอกเหนือจากเหตุผล (reason) ความเข้าใจ (understanding) และศรัทธา (faith) อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่าความสำคัญของจินตนาการได้ถูกลดทอนลงในสมัยปัจจุบัน โดยถูกจำกัดให้อยู่ในช่วงการเรียนรู้ในวัยเด็ก ด้านศิลปะและความบันเทิง หรือในโลกของความเพ้อฝันที่เกินเลยจากโลกของความเป็นจริงเพียง มันถูกมองว่าเป็นความสามารถพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติม หรือพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมาก
 

March-April 2017

มีนาคม-เมษายน 2560

April 7, 2017

เวลาเป็นของมีค่า: วาทกรรมสมเด็จย่า โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ย้อนไปในห้วงเวลาแห่งการสูญเสียหนึ่งในสมาชิกราชสกุลมหิดลตามแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เมื่อวันที่ 2 มกราคม พุทธศักราช 2551 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 2 นาฬิกา 54 นาที หนังสือพิมพ์รวมทั้งสื่อมวลชนไทยหลายๆแขนง ได้เสนอข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างต่อเนื่อง พระกรณียกิจหลายด้านได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อ หนึ่งในนั้นคือด้านการเขียน
April 6, 2017

ใต้เงากะอ์บะฮ์: ศาสนา ชาติ และอัตลักษณ์อินโดนีเซีย

ใต้เงากะอ์บะฮ์: ศาสนา ชาติ และอัตลักษณ์อินโดนีเซีย จิรยุทธ์ สินธุพันธ์ุ Di Bawah Lindungan Ka’bah (ตีพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1938) ที่อาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า  ภายใต้การปกป้องของกะอ์บะฮ์ เป็นนวนิยายของ ศาสตราจารย์ ดร. ฮัจยี อับดุล มาลิก บิน ดร. ซายิก ฮัจยี อับดุล […]
April 4, 2017

พลังของคำ The Power of Words

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการทางด้านการแพทย์ที่มีชื่อว่า Patience Experience Summit 2016: Transforming Healthcare through empathy and innovation ซึ่งเป็นการประชุมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และเป็นการแสดงนวัตกรรมใหม่ในการรักษาคนไข้ โดยมีแนวทางในการใช้คนไข้เป็นศูนย์กลาง ภายใต้แนวคิด Empathic Communication (การสื่อสารด้วยการเข้าใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง)
April 4, 2017

สื่อ / สาร / สอน

ในช่วงเวลา 3-4 ปีมานี้ ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษกับคณาจารย์ระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องในหัวข้อที่มีใจความสำคัญว่าจะสอนหนังสืออย่างไรให้ถูกใจผู้เรียน หรือจะมีวิธีอย่างไรให้ผู้เรียนมีความสุขในชั้นเรียน ซึ่งเป็นมุมมองการสอนเชิงรุก ที่ไม่ได้ตระหนักแค่จะสอนอย่างไรให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนเท่านั้น แต่มีประเด็นเรื่อง “เข้าถึง ถูกใจ” มาเป็นสาระสำคัญในการจัดการเรียนการสอนด้วย
April 3, 2017

อร๊ายยย แรวงส์ มว้ากกกอ่ะแกร…ภาษากับการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

ในตอนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เล่าถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีต่อโครงสร้างการรับรู้ของสมองและระบบคิด รวมถึงพฤติกรรมการสื่อสารในองค์กรของคนรุ่นดิจิทัลเนทิฟส์ไปแบบเบาๆ พอหอมปากหอมคอ มาในตอนนี้ ก็อยากจะเล่าต่อถึง “ต้นตอ” ของคำ “อร๊ายยย แรวงส์ มว้ากกกอ่ะแกร” ข้างต้นว่ามันมาแต่หนใด และแน่นอนว่า มันก็หนีไม่พ้นเรื่องอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกเช่นกัน
 

January-February 2017

มกราคม-กุมภาพันธ์ 2560

February 6, 2017

การข้ามพ้น ‘ตะวันออก’ พบ ‘ตะวันตก’ ในการแสดง: แนวนิยามเบื้องต้นแห่งกรอบแนวคิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมในสื่อสารการแสดง

“อีสต์ มีท เวสต์” (East meets West หรือ West meets East) ซึ่งหมายถึง การมาบรรจบกัน การมาพบกันของวัฒนธรรม ‘ตะวันออก’และ ‘ตะวันตก’ ที่ได้รับอิทธิพลจากสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสงคราม ซึ่งในความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไปคือวัฒนธรรมการแสดงของทางเอเชียกับวัฒนธรรมทางการแสดงของฟากฝั่งยุโรปและอเมริกา หรือมีอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการสร้างสรรค์งานที่มีการข้ามวัฒนธรรม (cross cultural theatre) หรือระหว่างวัฒนธรรม (intercultural theatre) มาเกี่ยวข้อง
February 5, 2017

โพสต์-โพสต์โมเดิร์นนิสม์กับการสื่อสารในศตวรรษที่ 21

หากว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหมุดหมายสำคัญของการก่อเกิดกระแสปรัชญา “โพสต์โมเดิร์นนิสม์” (Postmodernism) ซึ่งอาจเรียกขานว่า “หลังสมัยใหม่นิยม” หรือ “นวยุคนิยม” ก็ตามที การเกิดขึ้นและแพร่หลายของวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ก็เป็นเหตุสำคัญหนึ่งของปรัชญา “โพสต์-โพสต์โมเดิร์นนิสม์” (Post-postmodernism) หรือ “หลัง-หลังสมัยใหม่นิยม”
February 4, 2017

ข้อสังเกตการสื่อสารของสื่อมวลชน จากคำนำหนังสือพระนิพนธ์ ‘จดหมายเหตุชาวบ้าน ข่าวสมเด็จย่าสวรรคตจากหนังสือพิมพ์’ ในสายพระเนตรสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

การรายงานข่าวหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องสืบเนื่องจากการสวรรคตของพระบรมวงศานุวงศ์นับแต่อดีตจนในห้วงเวลาแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มีทิศทางการนำเสนอข่าวทั้งพระราชพิธีในส่วนของสำนักพระราชวัง การแสดงออกถึงความเศร้าโศกเสียใจของพสกนิกร บรรยากาศโดยรวมของสังคมนั้นปรากฏรูปแบบหรือหลักเกณฑ์ใดที่กำกับอยู่หรือไม่ สิ่งใดที่สื่อสารมวลชนยังคงถือปฏิบัติและสิ่งใดที่ได้ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
February 3, 2017

Monster Calls: จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว

แนวคิดด้านจิตวิทยาสมัยใหม่นั้น มุ่งเน้นที่จะศึกษาพฤติกรรมภายในของมนุษย์ เช่น ความคิด ความรู้สึก จิตใจ ฯลฯ มากกว่าการศึกษาพฤติกรรมภายนอก เช่น การกระทำ การพูด ฯลฯ  เพราะมีความเชื่อว่า พฤติกรรมภายในนั้นเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก ซึ่งลักษณะการศึกษาจิตด้วยหลักวิทยาศาสตร์ใหม่เหล่านี้กลับมีความพ้องพานสัมพันธ์กับภาษิตเก่าที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
February 2, 2017

เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารของผู้คนในยุคดิจิตัล

แสตมป์ อภิวัชร์ ผู้แต่งเพลง “โอมจงเงย” ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรงครั้งหนึ่ง ซึ่งเขาพบว่า “... คนนั่งอยู่เต็มห้อง แต่ไม่มีใครคุยกันเลย นั่งจิ้ม โทรศัพท์กันหมด ...” ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อเทคโนโลยีต่อพฤติกรรมการสื่อสารของผู้คนยุคนี้ในทุกบริบทของชีวิต ไม่ว่าจะในที่สาธารณะ ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งในครอบครัวซึ่งก่อนหน้านี้เป็นพื้นที่ที่สมาชิกเคยได้พูดคุย มองหน้ามองตากันได้ในระยะใกล้ชิด
February 1, 2017

วัฒนธรรมบันเทิงบนชุมทางอาเซียน

ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้ คงไม่มีหัวเรื่องใดที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาสนทนากันบ่อยครั้งเท่ากับเรื่องราวของประชาคมอาเซียน การรวมตัวอย่างเป็นรูปธรรมของชาติสมาชิก 10 ชาติในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าย่อมจะนำกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่มาสู่ชีวิตของผู้คนในภูมิภาคนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ แง่มุมต่างๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างชาติสมาชิกอาเซียน ทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้า การบริหารรัฐกิจและการศึกษา ไดัถูกนำมาเล่าขานผ่านวงสนทนาวิชาการและสื่อสารมวลชนกันอย่างสม่ำเสมอ